ทรานซิสเตอร์จานบิน เช่น เบอร์ 2N3055 ชนิด NPN , MJ2955 ชนิด PNP , 2SD868 ชนิด NPN เป็นต้น ตัวถังจานบินมีชื่อเรียกตามมาตรฐานว่า TO-3 ทรานซิสเตอร์ตัวถังจานบินเป็นทรานซิสเตอร์ขนาดใหญ่หรือพาวเวอร์ทรานซิสเตอร์ ( Power Transistor ) ทนกระแสได้ตั้งแต่หลักแอมป์จนถึงสิบแอมป์ขึ้นแล้วแต่เบอร์ ทรานซิสเตอร์จานบินมักจะเสียลักษณะขาดและซ๊อต ดังการวัดดีเสียจึงมุ่งไปที่การเช็คขาดกับซ๊อตไปเลย การวัดอาจประยุกต์หลายวิธีเช่นวัดเหมือนวัดทรานซิสเตอร์ทั่วไป และวัดเหมือนวัดไดโอดขาดไดโอดซ๊อตทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กมีกระแส Ib Ic ระดับ uA mA ส่วนทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่อย่างทรานซิสเตอร์จานบินทำงานที่ระดับกระแส Ib หลายแอมป์ กระแส Ic หลักสิบแอมป์ขึ้น ทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กสามารถใช้มัลติมิเตอร์วัดได้ดีเนื่องจากไฟที่จ่ายออกสายวัดมิเตอร์ ( 3VDC 15mA 1.5mA 150uA ) มีปริมาณเพียงพอที่จะไบอัสทรานซิสเตอร์เบื้องต้นเพื่อเช็คดีเสียได้ แต่ทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ไฟจากสายวัดมิเตอร์ไม่เพียงพอที่จะไบอัสเบื้องต้นให้มันทำงานได้ดังนั้นทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่จึงมุ่งไปที่การวัดเสียแบบขาดและเสียแบบซ๊อต
ขั้นตอนวัดวัดทรานซิสเตอร์จานบิน
1. หาตำเหน่งของทรานซิสเตอร์จาก Datasheet เช่นเบอร์ 2N3055 มีตำเหน่งขาตามรูป ถ้าวัดชำนาญแล้วอาจใช้วิธีวัดแบบสุ่มไปเลยก็ได้
ขาทรานซิสเตอร์เบอร์ 2N3055 ที่ใช้วัดสาธิต2. วัดขา B กับขา E และวัดขา B กับขา C สสับสายและวัดอีกครั้งตามรูป ใช้ย่านวัดไดโอดในการวัด ถ้ารอยต่อดีจะแสดงแรงดัน 0.5-0.7V 1 ครั้งและแสดง OL 1 ครั้ง
วัดขา B กับขา C ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงแรงดัน 0.5-0.7V 1 ครั้ง เสียแสดง 000V
สลับสาย วัดขา B กับขา C ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดง OL 1 ครั้ง
3. วัด ขา C กับ ขา E เสียแบบซ๊อต ใช้ย่านวัดโอห์มในการวัด ถ้าดีจะขึ้น OL ทั้ง 2 ครั้ง ถ้าเสียซ๊อตจะขึ้น O Ohm สามารถใช้ย่านวัดไดโอดวัดได้เช่นกัน ถ้าดีจะขึ้น OL ทั้ง 2 ครั้ง ถ้าเสียจะขึ้น 000V
สลับสาย วัด ขา C กับ ขา E เสียแบบซ๊อต ดีจะขึ้น OL เสียขึ้น 0 โอห์ม
สำหรับการวัดที่เน้นเช็คดีเสียแบบรวดเร็วให้มุ่งไปที่การวัดเสียลักษณะซ๊อตและเสียลักษณะขาดไปเลย โดยใช้ย่านวัดโอห์มสุ่มวัด เคสคือขา C และ 2 ขาที่โผล่คือขา B และขา E ถ้าดีมีค่าความต้านทานขึ้น 1 ครั้ง สลับสายวัดแสดง OL 1 ครั้ง
ใช้ย่านวัดโอห์มสุ่มวัด ขา B และขา C ดีมีค่าความต้านทานขึ้น 1 ครั้ง สลับสายวัดแสดง OL
สลับสายวัด วัดขา B กับขา E ( สีดำขา B สีแดงขา C ) เคสคือขา C