การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธีวัดไดโอด 3 ขา

วิธีวัดไดโอด  3  ขาไม่ยาก มันมีรายละเอียดเพิ่มเข้ามานิดหน่อยจากการวัดไดโอด 2 ขา ถ้าวัดไดโอด 2 ขาได้ก็สามารถเข้าใจการวัดไดโอด  3  ขาได้ง่ายๆ  ประเด็นที่สำคัญก่อนวัดต้องรู้ว่าวงจรข้างในมันต่อกันอย่างไร  รูปแบบการต่อที่นิยมใช้งานรูปด้านล่าง  ให้นำเบอร์ ไดโอด  3  ขา ไปค้นหาใน Datasheet เพื่อดูวงจรข้างใน    ยกตัวอย่างเบอร์  MBR2045CTG  เป็นการต่อแบบคอมมอนแคโทด  ไดโอด  3  ขาบางเบอร์อาจมีไดโอดแค่ 1 ตัวเนื่องจากขา 2 และ 3 ต่อถึงกันก็มี



วัดไดโอด  3  ขา  Diode  3 pin


Diode  3 pin

วงจรข้างใน ต่อแบบคอมมอนแคโทด ( Common Kathode )



Diode  3 pin
                                     วงจรข้างใน ต่อแบบคอมมอนแอโนด ( Common Anode )

Diode  3 pin
                                                  วงจรข้างใน ต่อแบบไดโอดสลับทางกัน


วิธีวัดไดโอด  3  ขา
สำหรับมัลติมิเตอร์แบบเข็มใช้ย่านวัด Rx1 หรือ Rx10 ก็ได้  สำหรับมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลใช้ฟังก์ชั่นวัดไดโอดก็ง่ายดี   หลังจากรู้วงจรข้างในของไดโอด 3 ขาที่่จะทำการวัดแล้ว ให้วัดไดโอดที่ละตัว ถ้าเป็นไดโอดที่ดีเข็มจะขึ้น 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง  กรณีไม่สะดวกหาวงจรภายในของไดโอด 3 ขาให้ใช้วิธีการสุ่มวัดไปเลยคือถ้าเป็นไดโอดที่ดีเข็มจะขึ้น 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง      กรณีไดโอดเสียวัดแล้วเข็มจะไม่ขึ้นเลยสักครั้งคือขาด  วัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้งคือเสียแบบซ๊อต


test   diode    with   multimeter
                                            วัดขา 1 และ 2 ของ MBR2045CTG   เข็มขึ้น 1 ครั้ง 



Diode  3 pin  test
                                   สลับสายวัดขา 1 และ 2 ของ  MBR2045CTG   เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง 



test   diode    with   multimeter
                                                      วัดขา 2 และ 3 ของ MBR2045CTG   เข็มขึ้น 1 ครั้ง 


Diode  3 pin  test
                                       สลับสายวัดขา 2 และ 3 ของ MBR2045CTG   เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง




เลือกหัวข้อ   เพื่อ    อ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน