วัดไดโอดบริดจ์ง่ายๆ เหมือนกับการวัดไดโอด 4 ตัว เพราะข้างในของไดโอดบริดจ์มีไดโอด 4 ต่อกันอยู่ ลักษณะการต่อมีมาตรฐานตำเหน่งขาแน่นอนและชัดเจน ต้องจำภาพลักษณะวงจรข้างในให้ได้หรือบันทึกรูปไว้ดูก็ได้ หลังจากดูรูปวงจรนี้ 2-3 รอบแล้วและวัดอุปกรณ์จริงก็จะจำวงจรข้างในได้ ไดโอดบริดจ์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญของภาคจ่ายไฟดังนั้นการวัดดีเสียตัวนี้เป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
ตำเหน่งขาไดโอดบริดจ์ และ วงจรข้างใน
ไดโอดบริดจ์ แบบต่างๆ
ตำเหน่งขาไดโอดบริดจ์และวงจรข้างในมีตำเหน่งขาและมาตรฐานการต่อที่แน่นอน ไม่ว่าจะสลับด้านอย่างไร วงจรข้างในก็จะยังเหมือนเดิมตามรูป ให้สังเกตทิศทางและเส้นทางของไดโอดแบ่งออกเป็น 2 เส้นทางคือเส้นสีแดงและเส้นสีน้ำเงิน โดยแต่ละเส้นทางเริ่มที่ขา - และไหลไปยังขา +
ที่ตัวไดโอดบริดจ์จะมีชื่อขา + - AC และ AC ทั้งหมด 4 เพื่อใช้ในการอธิบายให้เข้าใจง่ายๆจะใส่ตัวเลขเข้าไปเป็น AC1 AC2 ตามรูป ให้สังเกตเพิ่มอีกว่าขา - จะอยู่ใกล้ขา AC1 และขา + จะอยู่ใกล้ขา AC2
ลำดับขั้นตอนการวัดไดโอดบริดจ์ 4 ขา
เพื่อให้การวัดครบทุกขาและวัดไดโอดครบทุกตัวจะกำหนดขั้นตอนการวัดตามนี้ ทั้งนี้อาจกำหนดลำดับขั้นตอนแบบอื่นก็ได้ขึ้นอยู่กับการทำความเข้าใจวงจรข้างในของผู้วัด จุดสำคัญคือการวัดไดโอดให้ครบทั้ง 4 ตัว ในที่นี้จะยึดขา + และขา - นำแล้วไปวัดเทียบกับขา AC1 และขา AC2 ให้สังเกต 4 ข้อด้านล่างนี้จะวัดไดโอดครบทั้ง 4 ตัวเลย ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ย่านวัดไดโอด
1. วัดขา - กับขา AC1 หรือวัดไดโอดตัวที่ 1
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL 1 ครั้ง
2. วัดขา + กับขา AC1 หรือวัดไดโอดตัวที่ 2
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL 1 ครั้ง
3. วัดขา - กับขา AC2 หรือวัดไดโอดตัวที่ 3
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL 1 ครั้ง
4. วัดขา + กับขา AC2 หรือวัดไดโอดตัวที่ 4
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL 1 ครั้ง
ถ้าไดโอดข้างในตัวใดตัวหนึ่งเสียนั้นคือไดโอดบริดจ์เสีย และไดโอดข้างในอาจจะเสียมากกว่า 1 ตัวก็ได้
ลักษณะของไดโอดเสียคือ
1). ไดโอดขาด วัดแล้วหน้าจอแสดง OL ทั้ง 2 ครั้ง
2). ไดโอดซ๊อต วัดแล้วหน้าจอแสดง 0.00 ทั้ง 2 ครั้ง
เลือกหัวข้อ เพื่อ อ่านต่อ
เช่น การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มี 17 ตอน