ความสามารถหลักของมัลติมิเตอร์แบบเข็มที่เหนือกว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลคือมัลติมิเตอร์แบบเข็มสามารถจ่ายกระแสที่สายวัดเพื่อทดสอบอุปกรณ์ดีเสียได้มากกว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล การขึ้นและไม่ขึ้นของเข็ม การเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆเพิ่มหรือค่อยๆลดสังเกตได้ง่ายในการปรับจูนค่าทางไฟฟ้า ในการวัดคุณภาพและสภาพการนำกระแสของไดโอดใช้สเกล LI ซึ่งแสดงกระแสที่ผ่านจุดวัดเมื่อใช้ย่านวัด R ถ้าวัดไดโอดก็หมายถึงกระแสที่ผ่านไดโอด ถ้าใช้วัด LED หมายถึงกระแสที่ LED ใช้ สังเกตทีรูปสเกล LI มีค่า 0-15 การอ่านค่าต้องดูว่าเราใช้ย่านวัด R เรนท์ไหน เช่น
ใช้ย่านวัด R x1 มีค่าเต็มสเกล 150mA แต่ละขีดมีค่า 10mA
ใช้ย่านวัด R x10 มีค่าเต็มสเกล 15mA แต่ละขีดมีค่า 1mA
ใช้ย่านวัด R x100 มีค่าเต็มสเกล 1.5mA แต่ละขีดมีค่า 0.1mA
ใช้ย่านวัด R x1K มีค่าเต็มสเกล 150uA แต่ละขีดมีค่า 10uA
ย่านวัด R และกระแสที่จ่าย Rx1 = 150mA , Rx10 = 15mA , Rx00=1.5mA Rx1K = 150uA
ขั้นตอนวัดไดโอดรั่ว
1. ปรับไปที่ย่านวัด R x 10 เนื่องจากย่านนี้อ่านค่าง่ายค่าเต็มสเกลคือ 15mA แต่ละขีดมีค่าเท่ากัน 1mA
อาจปรับไปที่ย่านวัด Rx100 , Rx1K ก็ได้เพื่อทดสอบที่ค่ากระแสต่ำลง
2. ปรับซีโรห์โอห์มก่อนวัด สำคัญมากเพื่อให้ผลการวัดถูกต้อง
3. ต่อแบบไบอัสตรงจากนั้นอ่านค่ากระแสจากสเกล LI จะเป็นค่ากระแสฟอร์เวิร์ส IF
และต่อแบบไบอัสกลับจากนั้นอ่านค่า จากสเกล LI จะเป็นค่ากระแสรีเวิร์ส Ir
4. พิจารณาผลการวัด ถ้าดี ต้องได้ค่าใกล้เคียงตามสเปคใน Datasheet
ต่อไบอัสกลับให้ไดโอดได้ค่า Ir วัดไม่ขึ้นเพราะกระแสค่าน้อยมากๆ
วัดทรานซิสเตอร์รั่ว ใช้สเกล I CEO
ให้ดูที่สเกลของมิเตอร์จะมีสเกล I CEO อยู่เส้นเดียวกับสเกล LI เพียงแต่อยู่คนละด้าน วิธีการอ่านก็เหมือนกับการอ่านค่าสเกล LI ที่กล่าวถึงแล้วด้านบน ทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กและขนาดกลางใช้ Rx10 ( 15mA ) ในการทดสอบ ส่วนทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ ( Power Transistor ) ใช้ Rx1 ( 150mA) I CEO คือค่ากระแสรั่วระหว่างขา C และขา E โดยไม่มีกระแสเบส ( Open Base ) ใช้ทดสอบรอยต่อของทรานซิสเตอร์ว่ายังมีสภาพปกติหรือไม่
ขาทรานซิสเตอร์เบอร์ TIP35C ชนิด NPN มีกระแส Iceo 1mA ค่า Max ตาม Datasheet
ขั้นตอนการวัดทรานซิสเตอร์รั่ว ใช้สเกล I CEO
1. เลือกย่านวัดที่เหมาะสม ทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กและขนาดกลางใช้ Rx10 ( 15mA ) ในการทดสอบ ส่วนทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ ( Power Transistor ) ใช้ Rx1 ( 150mA) ในการวัดสาธิตเป็นกาวัดทรานซิสเตอร์เบอร์ TIP35C NPN ซึ่งเป็นทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่จึงใช้ Rx1
2. ปรับซีโรโอห์มก่อนวัด เพื่อให้ผลการวัดถูกต้อง
3. ต่อสายวัดโดยถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN สายสีดำต่อขา C และสายสีแดงต่อขา E ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด PNP สายสีดำต่อขา E และสายสีแดงต่อขา C
ทดสอบกระแสรั่ว Iceo ของ Power Transistor เบอร์ TIP35C ชนิด NPN
4. พิจารณาผลการวัด ทรานซิสเตอร์ชนิดซิลิกอนมีค่า Iceo ต่ำมากวัดแล้วเข็มจะไม่ขึ้นเลยมิเตอร์วัดไม่ได้เพราะค่าน้อยมาก ส่วนทรานซิสเตอร์ชนิดเจเมเนียมมีกระแสรั่วเล็กน้อยประมาณ 0.1-5mA สำหรับทรานซิสเตอร์เจเมเนียมขนาดเล็กขนาดกลาง ( Power Transistor 1mA -5mA )
สำหรับทรานซิสเตอร์ที่วัดแล้วได้ค่า Iceo เกินสเปคคือรั่วระหว่างขา C และขา E หรืออาจวัดแบบสุ่มแล้วเข็มขึ้นมากได้ค่า Iceo สูงคือทรานซิสเตอร์รั่ว การวัดนี้เป็นการวัดเพื่อเช็คสภาพอุปกรณ์ดีเสียเบื้องต้นโดยใช้มัลติมิเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องวัดมาตรฐานสำหรับงานซ่อมทั่วไป