ก่อนวัดทรานวัดทรานชิสเตอร์ HOR OUT มีไดโอดแดมป์เปอร์ มาดูตำเหน่งขาและโครงสร้างข้างในก่อนจะได้เข้าใจว่าทำไมจึงวัดขึ้นและวัดไม่ขึ้นได้ ตัวที่ใช้วัดสาธิตเป็นของใหม่ สังเกตตำเหน่งขาทรานซิสเตอร์เบอร์ 2SD2499 จะเรียง B C E ตรงขา B และ E มีตัวต้านทานต่ออยู่จะสลับสายวัดอย่างไรเข็มก็จะแสดงว่าความต้านทานระดับหนึ่งตามค่า R ส่วนตรงขา C กับขา E ให้มองเป็นเหมือนกันการวัดไดโอด คือขึ้น 1 ครั้งไม่ขึ้น 1 ครั้งดคือดี ดูรูปการวัดจริงประกอบ
ทรานซิสเตอร์เบอร์ เบอร์ 2SD2499 ชนิด NPN
ขั้นตอนการวัด
1. วัดขา B กับขา E และขา B กับขา C
ให้ใช่ย่านวัด Rx10 เหมือนการวัดทรานซิสเตอร์ทั่วไป
นำสายวัดสีดำจับที่ขา B สายวัดสีแดงแตะที่ขา E จะวัดขึ้นตามรูป จากนั้นนำสายวัดสีแดงแตะที่ขา C
จะวัดขึ้นตามรูป ขา E กับขา C เข็มจะวัดขึ้นใกล้เคียงกัน = ดี
วัดขา B กับขา E ต่อสายวัดตามรูปขึ้นประมาณนี้ = ดี
วัดขา B กับขา E ต่อสายวัดตามรูปขึ้นประมาณนี้ = ดี ขึ้นใกล้เคียงกัน
2. สลับสายวัดแล้ววัด ขา B กับขา E และขา B กับขา C อีกครั้ง
สลับสายวัดแล้ววัด ขา B กับขา E ยังวัดขึ้นเหมือนเดิม
เนื่องจากขา B กับ E มี R ต่ออยู่ จะวัดและสลับสายวัด ก็จะวัดขึ้นตลอด
สลับสายวัดแล้ววัด ขา B กับขา C เข็มไม่ขึ้น = ดี
3. วัดขา C กับขา E
เนื่องจากขา C กับขา E มีไดโอดต่อคร่อมอยู่ให้ใช้ Rx 10 วัดต่อเลยก็ได้จะได้ผลการวัดเข็มขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง = ดี เสียขาดคือวัดไม่ขึ้นเลยสักครั้ง เสียซ๊อตคือขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง
กรณีใช้ Rx1K หรือ Rx10K ก็ได้ผล เข็มขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง = ดี
วัดขา C กับขา E เข็มขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง = ดี รูปนี้เข็มขึ้นมาก
วัดขา C กับขา E เข็มขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง = ดี รูปนี้เข็มไม่ขึ้น
สรุปการวัดทรานซิสเตอร์เบอร์ 2SD2499 นี้วัดโดยอิงตามโครงสร้างข้างใน ผสมผสานประยุกต์การวัดทรานซิสเตอร์ทั่วไป การวัด R และ ไดโอด
เลือกหัวข้อ เพื่ออ่านต่อ
เช่น การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มี 17 ตอน
1) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (17)
อ่านต่อ อีก 25 เรื่อง เลื่อนหน้า > ด้านล่างสุดของมือถือ หรือ เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง