วัดทรานซิสเตอร์ดีเสียง่ายๆด้วยมองการวัดทรานซิสเตอร์ให้เป็นการวัดไดโอด 2 ตัว ทรานซิสเตอร์มีชิ้นสาร P สาร N รวมทั้งหมด 3 ชิ้นส่วนไดโอดมีสาร P สาร N ทั้งหมด 2 ชิ้น สังเกตตรงรอยต่อ PN ทรานซิสเตอร์จะมีรอยต่อ PN 2 รอยต่อ 1 รอยต่อ PN ก็มองเป็นไดโอด 1 ตัว 2 รอยต่อ PN ก็มองเป็นไดโอด 2 ตัวและไดโอด 2 ตัวนี้ต่อคอมมอนกันอยู่ ปกติแล้วการวัดทรานซิสเตอร์ต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานและวัดตามขั้นตอนเพื่อให้วัดได้ครบทุกขา แต่สำหรับคนที่ชำนาญแล้วจะมุ่งวัดทรานดีเสียโดยไม่จำเป็นต้องรู้ตำเหน่งขาของทรานซิสเตอร์เลย ทรานซิสเตอร์ส่วนใหญ่จะเสียลักษณะขาด จะสุ่มวัดไปเลยถ้าวัดขึ้น OL ทุกครั้งคือทรานซิสเตอร์ขาด และ ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V ( เมื่อใช้ย่านวัดไดโอด Diode Test ) หรือขึ้นค่าความต้านทานต่ำมากๆ 0 Ohm เมื่อใช้ย่านวัดโอห์มวัด
ช่วงแรกเป็นการวัดทรานซิสเตอร์ดีเสียและช่วงสุดท้ายแสดงการการหาขาทรานซิสเตอร์ แนะนำให้อ่านทั้งหมดตามลำดับเพราะ 2 เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกัน
ทรานซิสเตอร์ PNP มองเป็น ไดโอด 2 ตัวต่อแบบคอมมอนแคโทด
ทรานซิสเตอร์ที่ใช้วัดสาธิตคือเบอร์ 2N3904 มีตำเหน่งขา E B C เรียงลำดับ 1-2-3 ตามรูป ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อื่นๆอาจมีตำเหน่งขาที่แตกต่างจากนี้ ให้นำเบอร์ของทรานซิสเตอร์ค้นหาตำเหน่งขาจาก Datasheet
ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2N3904 มีตำเหน่งขาเรียง E B Cวัดทรานซิสเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
1. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลไปที่ย่านวัดไดโอด ( Diode Test )
2. ค้นหาตำเหน่งขาของทรานซิสเตอร์ที่จะวัด ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2N3904 มีตำเหน่งขาเรียง E B C ตามรูปทรานซิสเตอร์จริงๆ ด้านบน
วัดขา B กับขา C วัดได้แรงดันตกคร่อง 0.628V
สลับสายวัด B กับขา C แสดงค่า OL
3. พิจารณาผลการวัด ขา B กับขา E และวัดขา B กับขา C ใช้หลักการเดียวกัน ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า 0.6-0.7V 1 ครั้ง และแสดงค่า OL 1 ครั้ง ถ้าทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะขาด จะวัดขึ้น OL ทุกครั้ง และ ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V ทุกครั้ง
4. วัดขา E และขา C และสสับสายวัดอีกครั้งถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า OL ทุกครั้ง ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V ทุกครั้ง
5. ทรานซิสเตอร์ที่ดี ผลการวัดขา B-C วัดขา B-E และวัดขา C-E ผลการวัดต้องดีหมด
สสับสายวัด วัดขา E และขา C ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า OL ทุกครั้ง
การหาขาทรานซิสเตอร์ ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
ให้สุ่มวัดถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ NPN สายวัดสีแดงจะเป็นขา B ตามรูปด้านล่างนี้
การวัดครั้งที่ได้ค่าแรงดันตกคร่อมมากกว่าจะเป็นขา E เช่นวัดได้ 0.649V
ส่วนครั้งที่วัดแรงดันตกคร่อมได้น้อยกว่าจะเป็นขา C เช่นวัดได้ 0.628V
ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2N3904 ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อื่นจะได้แรงดันแตกต่างจากนี้
แต่หลักการยังเหมือนเดิมคือวัดขา B-E ได้แรงดันตกคร่อมมากกว่าแรงดันตกคร่อมขา B-C ที่เป็นเช่นนี้เพราะรอยต่อ PN ระหว่างขา B-E ได้รับการโด๊ปมากกว่า
ทรานซิสเตอร์ NPN สายวัดสีแดง เป็น ขา B แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C
ทรานซิสเตอร์ PNP สายวัดสีดำ เป็น ขา B แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C เช่นกัน
อ่านต่อ อีก 25 เรื่อง เลื่อนหน้า > ด้านล่างสุดของมือถือ หรือ เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง