รวมเรื่องการบัดกรี ฟลักซ์คืออะไร ส่วนต่างๆของแผ่น PCB ลักษณะการบัดกรีที่ดี การบำรุงรักษาปลายหัวแร้ง ( ເອເລັກໂຕຣນິກ )

การบัดกรีคือการเชื่อมโลหะ 2 ชิ้นเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้การเชื่อมต่อทางกลที่แข็งแรงและเป็นเส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้าได้สะดวก    งานพื้นฐานของช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์คือการบัดกรี ตอนนี้จะอธิบายเรื่องที่สำคัญจำเป็นต้องทราบสำหรับงานบัดกรี    เริ่มด้วยส่วนต่างๆของแผ่น PCB หรือแผ่นปริ้น เนื่องจากต้องอ้างถึงตอนทำการบัดกรี  จากนั้นมารู้จักฟลักซ์คืออะไรก่อนทำการบัดกรี     สุดท้ายจะกล่าวถึง   การบำรุงรักษาปลายหัวแร้ง  

ฟลักซ์คืออะไร   ส่วนต่างๆของแผ่น PCB   ลักษณะการบัดกรีที่ดี    การบำรุงรักษาปลายหัวแร้ง




ส่วนต่างๆของแผ่นปริ้นที่จำเป็นต้องทราบก่อนบัดกรี

1. ลายทองแดง เป็นส่วนที่อยู่ข้างในสุดเป็นเส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้าและเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ




2. Solder Mask  คือชั้นที่เป็น สีน้ำเงิน  สีเขียว   มีสีแดงด้วย  Solder Mask   ทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้มปิดลายทองแดงที่อยู่ด้านในและป้องกันทองแดงไม่ให้โดนอากาศเนื่องจากถ้าทองแดงโดนอากาศจะเป็นออกไซด์กระแสไหลไม่สะดวก   นอกจากนี้สีของ Solder Mask ยังทำให้เราแยกแยะส่วนที่เป็นโลหะกับส่วนอื่นๆ เพื่อจะให้เห็นจุดที่ต้องบัดกรีงานได้ง่ายขึ้น    Mask  แปลตรงๆว่า หน้ากาก ช่วยป้องกันส่วนที่อยู่ด้านใน




3. Silk Screen คือ ตัวอักษร ข้อความต่างๆ เพื่อบอกชนิดของอุปกรณ์ ค่าของอุปกรณ์  ตำเหน่งขา ทิศทางการเสียบขาอุปกรณ์  Silk Screen นี้จะปริ้นอยู่บน  Solder Mask อีกที ประโยชน์หลักๆของ Silk Screen คือบอกข้อมูลของอุปกรณ์ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบวงจรใส่อุปกรณ์ได้ถูกต้อง
4.  แพด ( Pad ) คือส่วนที่เป็นโลหะซึ่งโผล่ออกมาสำหรับบัดกรีกับขาอุปกรณ์  ตามรูปด้านล่างที่วงกลมสีแดงไว้คือแพด


    



                                     แพด ( Pad ) คือบริเวณพื้นที่โลหะที่จะบัดกรีกับขาอุปกรณ์    




ฟลักซ์ (   FLUX ) คืออะไร   ?
ฟลักซ์เป็นสารเคมีชื่อเรียกภาษาไทยว่า " น้ำยาประสานช่วยบัดกรี"   จากการศึกษาข้อมูลจากผู้ผลิตตะกั่วบัดกรี สรุปได้ว่าฟลักมีประโยชน์หลายอย่าง  1). ช่วยทำความสะอาดพื้นผิวโลหะที่จะบัดกรี โดยการขจัดคราบออกไซด์ออกจากผิวโลหะ   2. ทำให้ตะกั่วไหลไปตามบริเวณที่จะบัดกรีซึ่งช่วยให้ตะกั่วเต็มพื้นที่แพดและบัดกรีได้ง่ายขึ้น   3. ทำให้ผิวโลหะที่จะบัดกรีเชื่อมกันได้ดีผลคือมีการนำกระแสไฟฟ้าที่ดีนั่นเอง  ยกตัวอย่างการเชื่อมสายไฟ 2 เส้นจะนิยมจุ่มฟลักตลับก่อนเพื่อให้บัดกรีได้ง่าย   เส้นตะกั่วที่นิยมใช้งานจะมีฟลักอยู่ด้านในของเส้นตะกั่วเลย ( ดูที่รูปด้านล่าง )   นอกจากนี้ฟลักยังมีขายแบบเป็นตลับสีแดง สีเหลือง สรุปฟลักเป็นตัวช่วยให้งานบัดกรีมีคุณภาพและบัดกรีง่าย

ตะกั่วบัดกรี
                                                        ตะกั่วบัดกรีแบบมีฟลัก จะระบุไว้ที่ฉลาก

ตะกั่วบัดกรี

ตะกั่วบัดกรี




เส้นตะกั่วแบบมีฟลักอยู่ด้านใน
                                                          เส้นตะกั่วบัดกรีแบบมีฟลักอยู่ข้างใน


                                       ฟลักตลับ  ฉลากบอกประโยชน์ไว้ว่า ช่วยผสานตะกั่ว



ลักษณะการบัดกรีที่ดี 
การบัดกรีคือการเชื่อมโลหะ 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน ทำอย่างไรจึงจะได้จุดบัดกรีที่ดี  ?  จุดประสงค์ของการบัดกรีคือได้การเชื่อมต่อทางกลที่แข็งแรงและโลหะ 2 ชิ้นที่เชื่อมกันมีการนำกระแสไฟฟ้าที่ดีด้วย
 
1. ทำความสะอาดชิ้นงานก่อนบัดกรี ถ้าเป็นสายไฟเก่าให้ตัดทิ้งตัวนำที่โดนอากาศนานๆจะบัดกรีไม่ค่อยติดให้ปอกสายใหม่และอาจจุ่มฟลัก  กรณีเป็นขาอุปกรณ์เก่าให้ใช้คัตเตอร์ขุดนิดหน่อยเพื่อเอาคราบหนักต่างๆออกก่อน   การทำความสะอาดชิ้นงานก่อนการบัดกรีช่วยให้การบัดกรีง่ายแล้วยังทำให้ได้จุดบัดกรีมีคุณภาพดีด้วย   การทำความสะอาดชิ้นงานหลังการบัดกรีช่วยกำจัดคราบที่เกิดจากการบัดกรีซึ่งคราบนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ฝุ่นและความชื้นจะมาเกาะทำให้อุปกรณ์ซ๊อตกันและวงจรทำงานผิดปกติได้โดยที่หาสาเหตุไม่เจอ    สุดท้ายหลังจากบัดกรีเรียบร้อยและทำความสะอาดคราบต่างๆแล้วให้เคลื่อบแผ่นปริ้นด้วยน้ำยาเคลือบแผ่นปริ้นเพื่อป้องกันลายทองแดง

2. ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้ง 2 ที่จะเชื่อมกัน หลังจากร้อนได้ที่ให้ป้อนตะกั่วใส่  สูตรการบัดกรีคือ หัวแร้งจะเข้าก่อนและออกที่หลัง  หัวแร้งเข้าก่อนเพื่อให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้ง 2 เมื่อร้อนได้ที่ก็ป้อนตะกั่วใส่   หลังจากตะกั่วละลายและได้ปริมาณที่พอดีกับพื้นที่แพดให้เอาตะกั่วออก หัวแรงจะออกเป็นชิ้นสุดท้ายจากจุดบัดกรี  ระยะเวลาทั้งหมดในการบัดกรีห้ามใช้เวลานานเนื่องจากลายทองและอุปกรณ์จะเสียได้ถ้าแช่หัวแรงไว้นานเกินไป     อุปกรณ์ขนาดเล็กใช้เวลาประมาณ  2-3 วินาทีและอุปกรณ์ขนาดใหญ่ให้ใช้เวลา 3-4 วินาที    ระยะเวลาที่แนะนำไว้นี้ให้ประเมินดูผลงานที่ได้ว่าได้จุดบัดกรีมีคุณภาพหรือไม่


                                                 ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานก่อน ( แพดและขาอุปกรณ์)


   สูตรการบัดกรีคือ หัวแร้งเข้าก่อนและออกที่หลัง  หัวแร้งเข้าก่อนเพื่อให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้ง 2  เมื่อร้อนได้ที่ให้ป้อนตะกั่วหลังจากตะกั่วละลายและได้ปริมาณที่พอดีกับพื้นที่แพดแล้ว  ให้เอาตะกั่วออก  สุดท้ายหัวแรงจะเป็นชิ้นสุดท้ายที่ออกจากจุดบัดกรี


3. จุดบัดกรีที่ดีตะกั่วจะเต็มพื้นที่แพดและเป็นรูปทรงกรวย ให้พื้นผิวมีความเงาวาว ลักษณะจุดบัดกรีที่ต้องปรับปรุงคือตะกั่วน้อยไปทำให้ความแข็งแรงทางกลน้อยกระแสไหลไม่สะดวก  อีกแบบคือใส่ตะกั่วมากเกินไปทำให้ขาอุปกรณ์มีโอกาสช๊อตกันได้อีกทั้งไม่สวยงามด้วย 


                       จุดบัดกรีที่ดีตะกั่วจะเต็มพื้นที่แพดและเป็นรูปทรงกรวย พร้อมมีพื้นผิวที่เงาวาว 


4. ปัญหาที่สำคัญของการบัดกรีคือปลายหัวแร้งไม่ร้อนและปลายหัวแร้งร้อนมากไป หัวแร้งไม่ร้อนให้ทำความสะอาดเอาคราบเขม่าต่างๆออกจากปลายหัวแร้งก่อนบัดกรีงานและชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วก่อนทำการบัดกรีทุกครั้ง  การเลือกขนาดปลายหัวแร้งให้เหมาะกับชิ้นงานก็สำคัญส่วนมากงานแผ่นปริ้นจะใช้หัวแร้งปลายทรงกรวยซึ่งเหมาะกับงานละเอียดมีขนาดเล็ก สำหรับงานบัดกรีอุปกรณ์ SMD จะนิยมใช้หัวแรงปลายแบน ปลายหัวแร้งแบบต่างๆมีขายเป็นชุด      ให้ค้นคำว่า "ปลายหัวแร้ง" จะมีปลายหัวแรงรูปแบบต่างๆให้ดู      สุดท้ายขนาดวัตต์ของหัวแร้งก็สำคัญงานบัดกรีแผ่นปริ้นใช้ขนาด 30-60 วัตต์ก็ให้ความร้อนที่มากพอ  ถ้าหัวแร้งวัตต์น้อยไปเมื่อบัดกรีตะกั่วจะละลายยากทำให้ได้งานบัดกรีที่ไม่มีคุณภาพ


 การบำรุงรักษาปลายหัวแร้งต้องทำอย่างไร    ?
จุุดประสงค์การบำรุงรักษาปลายหัวแร้งคือให้มันส่งผ่านความร้อนได้เต็มที่และมีอายุการใช้งานที่นานๆ ต้องเข้าใจที่มาว่าทำไมจึงให้ทำและทำไม่จึงห้ามทำ  โครงสร้างของปลายหัวแร้งส่วนด้านในจะเป็นทองแดงเพื่อรับความร้อนจากฮีตเตอร์และส่งผ่านความร้อนนี้ให้ชิ้นงานบัดกรี  ด้านนอกสุดของทองแดงถูกเคลือบไว้เพื่อป้องกันทองแดงจากออกไซด์    การบำรุงรักษาปลายหัวแร้งที่ผู้ผลิตแนะนำไว้ก็จะกล่าวถึงหลักการกว้างๆไว้เหมือนกันมีดังนี้

1.  ให้ทำความสะอาดปลายหัวแร้งก่อนใช้งานและหลังใช้งาน  ถ้าใช้งานเบา-ปานกลางให้ทำความสะอาดวัดละครั้งและถ้าให้งานหนักให้ทำความสะอาดทุกครั้ง
2. ให้ชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่ก่อนการบัดกรี    โดยให้ขจัดคราบเขม่าสีดำก่อนชุบตะกั่วใหม่  วิธีขจัดคราบเขม่าสีดำให้ถูปลายหัวแร้งที่ร้อนกับผ้าผิวหยาบชุบน้ำชุ่มหรือฝอยชุบน้ำ  ถ้าคราบเขม่าหนักมากให้ใช้ฝอยโลหะหรือกระดาษทรายชนิดละเอียดถูนิดๆเบาๆได้แต่ห้ามตะไบเพราะส่วนที่เคลือบหุ้มปลายหัวแร้งจากโรงงานจะหลุดออกทำให้ส่วนที่เป็นทองแดงโผล่ออกมาโดนอากาศและโดนฟลักทำให้มันสึกกร่อนเร็วขึ้น
3. ให้ชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่ก่อนเลิกงานทุกครั้ง  ก่อนชุบตะกั่วใหม่ให้ขจัดคราบเขม่าก่อน
4. ฝอยทองเหลืองมีสำหรับขจัดตะกั่วก้อนที่ติดปลายหัวแร้ง ให้ถูสไลเบาๆแบบเสียบเข้าไปในเส้นฝอย
5. ห้ามจุ่มปลายหัวแร้งกับของเหลวชนิดต่างๆ ซึ่งทำให้โครงสร้างของโลหะและคุณสมบัติมันเปลี่ยนไป
6. ห้ามกดที่ปลายหัวแรงมากเกินไป ให้กดพอตึงมือเท่านั้น ถ้าต้องการแกะชิ้นงานให้ใช้ไขควงแกะหรือคัตเตอร์ตัดงานจะตรงตามลักษณะการใช้งานของอุปกรณ์ ห้ามใช้ปลายหัวแร้งแกะชิ้นงาน
7. หัวแร้งบัดกรีให้ใช้เฉพาะงานบัดกรีเท่านั้นห้ามนำไปใช้ให้ความร้อนงานอื่นๆที่นอกเหนือจากการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
8. ห้ามเปิดหัวแร้งที่อุณภูมิสูงๆทิ้งไว้นานๆ จะทำให้อายุใช้งานของปลายหัวแร้งสั้นลง
9. เลือกปลายหัวแร้งให้เหมาะกับลักษณะงานที่จะบัดกรี ทำให้การบัดกรีง่ายและได้จุดบัดกรีที่มีคุณภาพสูง
10. ปฏิบัติตามหลักการทั่วไปและหลักการเฉพาะที่ระบุไว้ในคู่มือหัวแร้งนั้นๆ เพื่อให้การใช้งานหัวแร้งมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

น้ำยาทำความสะอาดแผ่นปริ้น
                                                              
                                                                 น้ำยาทำความสะอาดแผ่นปริ้น 



ประโยชน์ของน้ำยาทำความสะอาดแผ่นปริ้น   ช่วยให้บัดกรีง่าย  ใช้ทำความสะอาดก่อนบัดกรี  และใช้ทำความสะอาดหลังการบัดกรีเพื่อป้องกันสารเคมีและคราบต่างๆกัดกร่อนแผ่น PCB  นอกจากใช้ทำความสะอาดแผ่น PCB แล้วยังใช้ทำความสะอาดขาอุปกรณ์ด้วย




น้ํายาเคลือบแผ่นปริ้น  PF100
                                                                    น้ำยาเคลือบแผ่นปริ้น PF100

น้ํายาเคลือบแผ่นปริ้น PF100
                                                     ประโยชน์   น้ำยาเคลือบแผ่นปริ้น PF100


         ชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่ก่อนบัดกรีและหลังเลิกงานให้ทำความสะอาดขจัดคราบเขม่าแล้วชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่อีกเช่นกันเพื่อป้องกันออกไซต์เกาะที่ปลายหัวแร้ง




สอนใช้งาน Multi-function  Tester  TC1 เครื่องวัด  อุปกรณ์อิเล็กฯ
ดูที่นี้









เลือกหัวข้อ    เพื่อ    อ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน