การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธีวัดเอสซีอาร์ SCR ด้วย มัลติมิเตอร์ดิจิตอล และ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม วัด SCR ด้วยการทริกขาเกต

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   วัดเอสซีอาร์  SCR   мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng


ก่อนวัด SCR  มารู้จักชื่อขาและสัญลักษณ์ของเอสซีอาร์    SCR มี 3 ขาคือขาแอโอด ( Anode ) ใช้สัญลักษณ์ A   ,  ขาแคโทด  ( Kathode)ใช้สัญลักษณ์ K  ขาเกต ( Gate ) ใช้สัญลักษณ์ G  SCR มีหลายเบอร์มากและมีผู้ผลิตหลายแหล่งแต่ละเบอร์อาจมีการเรียงตำเหน่งขาไม่เหมือนกัน เบอร์ที่ใช้วัดสาธิตใช้เบอร์ C106MG  มีการเรียงขา  K  A   G  ตามรูปด้านล่าง

ขา   SCR
                                     ขา   SCR  เบอร์  C106MG    ขา  1 =   K  , 2 =   A   , 3 =    G 




                                                   สัญลักษณ์  เอสซีอาร์  ใช้ประกอบการวัด


วัด   SCR ด้วย มัลติมิเตอร์ดิจิตอล 

ใช้ย่านวัดโอห์มในการวัด SCR ที่ดีจะวัดขึ้นค่าความต้านทาน 1 ครั้งคือครั้งที่วัดขา G และ K     SCR เสียถ้าขาดจะวัดค่าความต้านทานไม่ขึ้นเลยสักครั้ง  ถ้าเสียซ๊อตจะขึ้นค่าความต้านทาน 0 Ohm หรือขึ้นความต้านทานต่ำมากๆ

1)  วัดขา G กับ  K  ตามรูป SCR ดีจะขึ้นค่าความต้านทาน 1 ครั้ง จากนั้นสลับสายวัดจะขึ้น OL  1 ครั้ง

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  วัดเอสซีอาร์  SCR   ການວັດ   SCR
                                    วัดขา G และ K     SCR ที่ดีจะวัดขึ้นค่าความต้านทาน 1 ครั้ง 

วัด  SCR    test
                                      สลับสายวัดขา G  และ  K     SCR ที่ดีจะขึ้น  OL  1  ครั้ง 


2.  วัดขา A   กับ  K  และสลับสายวัดอีกครั้ง  SCR ที่ดีจะแสดง OL ทั้ง 2  ครั้ง  ถ้าเสียซ๊อตจะขึ้นค่าความต้านทาน 0 Ohm หรือขึ้นความต้านทานต่ำมาก

SCR test

                                         วัดขา A   กับ  K    SCR ที่ดีจะแสดง  OL ทั้ง 2  ครั้ง 


SCR  Test
                                    สลับสายวัด วัดขา A   กับ  K   SCR ที่ดีจะแสดง  OL 



ขั้นตอนวัด SCR ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
หลักการทำงานเบื้องต้นของ SCR คือเมื่อขา A ได้รับไฟ + และขา K ได้รับไฟ -   เมื่อขาเกตได้รับกระแสทริกบวก  SCR จะนำกระแสจากแอโนดไปแคโทด  ในการวัดใช้ย่านวัด Rx 1

1. วัดขา G กับ K  SCR ที่ดีเข็มจะขึ้นมาก  1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง  กรณีเสียซ๊อตเข็มจะขึ้นมากสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง กรณีเสียขาดจะวัดไม่ขึ้นเลย

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  SCR Test   мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng
                                             รูปแสดง   วัดขา G กับ K  SCR ที่ดีเข็มจะขึ้นมาก  1 ครั้ง

                               รูปแสดง  สลับสายวัด วัดขา G กับ K  SCR ที่ดีเข็มจะไม่ขึ้น   1 ครั้ง


2. วัดขา A กับขา K  จากนั้นสลับสายวัด วัดอีกครั้ง  SCR ที่ดีเข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง 2 ครั้ง  กรณีเสียซ๊อตเข็มจะขึ้นมากสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง

                                        รูปแสดง   วัดขา A  กับขา K    SCR ที่ดีเข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง 2 ครั้ง

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  SCR  test
                        รูปแสดง   สลับสายวัด วัดขา A  กับขา K    SCR ที่ดีเข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง 2 ครั้ง



วัด SCR ด้วยการทริกขาเกต
ที่ย่านวัด R x 1  จะมีไฟ 3VDC  150mA จ่ายออกจากสายวัด จากหลักการทำงานเบื้องต้นของ SCR คือเมือขา A ได้รับไฟ + และขา K ได้รับไฟ -   เมื่อขาเกตได้รับกระแสทริกบวก  SCR จะนำกระแสจากแอโนดไปแคโทด จะใช้หลักการนี้นำไปทริกขา G เพื่อทดสอบการนำกระแสของ SCR ว่าสามารถนำกระแสได้ตามปกติหรือไม่  ?   ถ้าสามารถนำกระแสได้ตามปกติคือ SCR ยังดีนั่นคือ สามารถนำกระแสและหยุดนำกระแสได้  ดูรูปตามลำดับต่อไปนี้


วัดเอสซีอาร์  SCR
   ต่อสายวัดตามรูป ขา K กับสายวัดสีแดง ( สายสีแดงจ่ายไฟ  - )
   ขา  A ต่อสายวัดสีดำ ( สายสีดำจ่ายไฟ  + )



วัดเอสซีอาร์  SCR
                                        ทริกขา G ด้วยไฟ +   จากขา A   ( สายวัดสีดำ )



мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng
               เมื่อเอาไฟ + ที่ทริกขา G ออก  SCR ยังคงสามารถนำกระแสค้างได้ คือ SCR ดี



SCR  Test  วัดเอสซีอาร์  SCR
                                        ให้ SCR หยุดนำกระแส โดยแตะขา A และ K เข้าด้วยกัน



วัดเอสซีอาร์  SCR
            ให้ SCR หยุดนำกระแส โดยแตะขา A และ K เข้าด้วยกัน รูปแสดง SCR หยุดนำกระแส



30   เรื่อง    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ( เป็น ภาษาอังกฤษ)   > อ่านที่เว็บนี้


เลือกหัวข้อ     เพื่อ    อ่านต่อในเว็บนี้    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธีวัดทรานซิสเตอร์ ดีเสีย หาขา หาชนิด NPN PNP ด้วยมิเตอร์เข็ม ( การวัด Transistor )

 ประเด็นการวัดทรานซิสเตอร์พื้นฐานคือวัดดีเสีย  วัดหาขา B-C-E  และ วัดหาชนิด NPN / PNP ก่อนวัดต้องเข้าใจว่าขั้วไฟจากสายวัดของมัลติเตอร์แบบเข็มนั้นจะแตกต่างจากขั้วไฟสายวัดของมัลติเตอร์แบบดิจิตอล ถ้าไม่เข้าใจประเด็นนี้ทำให้งงและจำวิธีวัดไม่ได้  ถ้าเข้าใจจะวัดเป็นและจำได้ตลอดกาล   ให้จำไว้ว่าสายวัดสีแดงของมัลติมิเตอร์แบบเข็มมีไฟขั้ว - จ่ายออกมา และสายวัดสีดำมีไฟขั้ว + จ่ายออกมาที่เป็นแบบนี้เพราะเนื่องจากวงจรข้างในของมัลติมิเตอร์แบบเข็มสายวัดจะต่ออยู่กับแบตเตอรี่ข้างในเมื่อใช้ย่านวัดตัวต้านทานจะมีไฟจ่ายออกมา    ปกติแล้วการวัดทรานซิสเตอร์จะให้ย่านวัด Rx10 มีไฟจ่ายออกมา 3VDC 15mA  , Rx1K  มีไฟจ่ายออกมา 3VDC 15uA และ  Rx10K มีไฟจ่ายออกมา 9VDC  ไฟที่จ่ายออกมาและขั้วไฟจากสายวัดใช้ไบอัสทรานซิสเตอร์และใช้อธิบายว่าทำไมเข็มของมัลติมิเตอร์จึงขึ้นหรือเข็มไม่ขึ้น ( กระแสไหลและกระแสไม่ไหลนั่นเอง )

ขั้นตอนต่อไปนี้จำเป็นสำหรับมือใหม่ต้องวัดเป็นและวัดแบบเข้าใจก่อน  สำหรับคนที่วัดชำนาญแล้วจะวัดแบบสุ่มไปเลย   ทรานซิสเตอร์ที่เสียส่วนใหญ่คือขาดและซ๊อต ถ้าขาดวัดสลับสายสลับขาอย่างไรก็ตามเข็มจะไม่ขึ้นเลย ถ้าซ๊อตวัดสลับสายสลับขาอย่างไรก็ตามเข็มจะขึ้นสุดสเกลได้ค่าความต้านต่ำมาก นี้คือการวัดแบบสุ่มโดยมุ่งไปที่การเสียแบบขาดกับเสียแบบซ๊อต


ການວັດ  Transistor
                                           สายวัดสีแดงจ่ายไฟ -  และสายวัดสีดำจ่ายไฟ  +


มองทรานซิสเตอร์เป็นไดโอด 2 

เพื่อให้เข้าใจการวัดทรานซิสเตอร์ง่ายๆให้มองทรานซิสเตอร์เป็นไดโอด  2 ตัวต่อกัน โดยทรานซิสเตอร์ชนิด NPN = ไดโอด 2 ตัวต่อคอมมอนแอโนด และ  ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP  = ไดโอด 2 ตัวต่อคอมมอนแคโทด  จะใช้โมเดลไดโอด 2 ตัวนี้วัดทรานซิสเตอร์จริงในขั้นตอนต่อไป




                        ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN = ไดโอด 2 ตัวต่อคอมมอนแอโนด


                          ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP  = ไดโอด 2 ตัวต่อคอมมอนแคโทด

Transistor test
                              ใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์    2N3904   ในการวัดสาธิต


ขั้นตอนวัดวัดทรานซิสเตอร์

ใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์    2N3904   ในการวัดสาธิตเบอร์นี้มีตำเหน่งขาเรียงตามรูปด้านบนกรณีเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อื่นๆก็ให้ค้นหาตำเหน่งขาจาก Datasheet 

1. วัดขา B กับขา E และวัดขา B กับขา C  

ใช้มิเตอร์ย่านวัด Rx10 และปรับซีโรโอห์มก่อนวัดเพื่อให้ผลการวัดถูกต้อง

2. ให้วัดและสลับสายวัด พิจารณาผลดังนี้ถ้าทรานซิสเตอร์ดีเข็มจะขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง

เสียลักษณะขาดวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลย เสียลักษณะช๊อตวัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกล


ການວັດ  Transistor  test
                        วัดขา B กับขา E ขา B อยู่ตรงกลาง   สายวัดสีดำจ่ายไฟ +  ( ชนิด NPN)
จากโมเดลไดโอด 2 ตัวด้านบนเข็มขึ้นเพราะไดโอดได้รับไบอัสตรง


Transistor test
                       วัดขา B กับขา C  ขา B อยู่ตรงกลาง   สายวัดสีดำจ่ายไฟ +  ( ชนิด NPN)
จากโมเดลไดโอด 2 ตัวด้านบนเข็มขึ้นเพราะไดโอดได้รับไบอัสตรง


Transistor test

 สลับสายวัด   วัดขา B กับขา E ขา B อยู่ตรงกลาง   สายวัดสีดำจ่ายไฟ +  ( ชนิด NPN)
จากโมเดลไดโอด 2 ตัวด้านบนเข็มไม่ขึ้นเพราะไดโอดได้รับไบอัสกลับ



Transistor test

 สลับสายวัด   วัดขา B กับขา C  ขา B อยู่ตรงกลาง   สายวัดสีดำจ่ายไฟ +  ( ชนิด NPN)
จากโมเดลไดโอด 2 ตัวด้านบนเข็มไม่ขึ้นเพราะไดโอดได้รับไบอัสกลับ


3. วัดขา C กับขา E  ให้วัดและสลับสายวัด
ใช้ Rx10K สำหรับทรานซิสเตอร์ชนิดซิลิกอน  และ Rx1K  สำหรับเจอร์เมเนียม
ถ้าทรานซิสเตอร์ดีเข็มขึ้นมาก 1 ครั้ง และเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง ( หรือขึ้นน้อยก็ได้)
เสียลักษณะขาดวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง  เสียลักษณะช๊อตวัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง


ການວັດ  Transistor  test
                                                        วัดขา C กับขา E เข็มขึ้นมาก 1 ครั้ง  


Transistor test
               สลับสายวัด   วัดขา C กับขา E เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง  ( อาจขึ้นน้อยชี้ใกล้แถว ∞ )




การวัดหาขา  B-C-E   ของทรานซิสเตอร์
1. การวัดหาขา B    ให้ใช้  R x 10 สุ่มวัดจะเจอครั้งที่เข็มขึ้นมาก 2 ครั้ง  ตรงจุดนี้คือคอมมอนของไดโอด
พิจารณารูปด้านล่างจะทราบทั้งชนิดของทรานซิสเตอร์และตำเหน่งของขา  B




สายวัดสีดำมีขั้วไฟ + ดังนั้นเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN  สายสีดำคือขา B 
วัดแล้วเข็มขึ้นเพราะไดโอดได้รับไออัสตรง



สายวัดสีแดงมีขั้วไฟ - ดังนั้นเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด PNP สายสีแดงคือขา B  
วัดแล้วเข็มขึ้นเพราะไดโอดได้รับไออัสตรง

2. วัดหาขา C และขา  E
หลังจากได้ขา B เรียบร้อยแล้ว 2 ขาที่เหลือคือขา C และขา E นอกจากทราบขา B แล้วยังทราบชนิดของทรานซิสเตอร์ด้วย
ใช้ย่านวัด  Rx10K วัด หาขา C และขา   E
วัดและสลับสายวัด ให้พิจารณาครั้งที่เข็มมิเตอร์ขึ้นมาก
ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN  สายวัดสีแดง ( ขั้วไฟ -)  คือขา C  (ข้อสังเกตุให้จำตรง NNคือขา C)
ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด PNP  สายวัดสีดำ  ( ขั้วไฟ +)  คือขา C (ข้อสังเกตุให้จำตรง PP คือขา C )



ให้สังเกตทรานซิสเตอร์ชนิด NPN  สายวัดสีแดง ( ขั้วไฟ -)  คือขา C  (ข้อสังเกตุให้จำตรง NNคือขา C)

                                                          วัดขา C และ E ครั้งที่เข็มไม่ขึ้น


                                    ทรานซิสเตอร์ชนิด  NPN  ให้สังเกต NN  คือ  - 
                                    ขั้วไฟลบคือสายสีแดง  ดั้งนั้นสายสีแดงเป็นขา C


                                           ทรานซิสเตอร์ชนิด  NPN เบอร์    2N3904





ให้สังเกตทรานซิสเตอร์ชนิด PNP  สายวัดสีดำ  ( ขั้วไฟ +)  คือขา C (ข้อสังเกตุให้จำตรง PP คือขา C )
ดูครั้งที่เข็มขึ้นมาก  พิจารณา  3 รูปด้านล่างนี้

                                                        วัดขา C และ E ครั้งที่เข็มไม่ขึ้น


                                     ทรานซิสเตอร์ชนิด  PNP  ให้สังเกต PP  คือ  + 
                                    ขั้วไฟบวกคือสายสีดำ  ดั้งนั้นสายสีดำเป็นขา C




                                           ทรานซิสเตอร์ชนิด  PNP   เบอร์    2N3906



30   เรื่อง    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ( เป็น ภาษาอังกฤษ)   >  อ่านที่เว็บนี้


เลือกหัวข้อ     เพื่อ   อ่านต่อในเว็บนี้    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี  17 ตอน