วัดไดโอด ใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล และ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ( ການວັດ DIODE )

 จะสาธิตและอธิบายการวัดไดโอดโดยใช้ทั้ง มิเตอร์ดิจิตอล  และ มัลติมิเตอร์แบบเข็มเพราะหลายคนมีมัลติมิเตอร์แบบเข็ม  ตอนเรียนอิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มเรียนพื้นฐานโดยใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดอุปกรณ์ดีเสีย  สำหรับคนที่ขยับขึ้นมาใช้มิเตอร์ดิจิตอลก็ดีเช่นกันเพราะใช้งานง่ายกว่า มีฟังก์ชั่นและย่านวัดเยอะกว่า การใช้มัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบวัดอุปกรณ์ต้องเข้าใจและใช้หลักการพื้นฐานเหมือนกัน   มิเตอร์ดิจิตอลมีหลายระดับราคา ราคาที่ต่างกันหมายถึง % ระดับความเที่ยงตรงและความถูกต้องของค่าที่วัดแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังแยกย่อยประเภทออกเป็น นำไปใช้งานวัดงานซ่อมทั่วไป   นำไปใช้งานวัดงานซ่อมอุตสาหกรรม  นำไปใช้งานซ่อมงานวัดระดับห้อง LAB   เป็นต้น การเลือกซื้อก็ต้องพิจารณดูเช่นกันเพราะบางยี่ห้อเขียนสเปคดีเกินจริงซึ่งราคาถูกขนาดนี้มันไม่น่าจะมีความสามารถตามที่กล่าวอ้างขนาดนั้นเรียกประเด็นประมาณนี้ว่าความน่าเชื่อถือของยี่ห้อ 


วัดไดโอด  ใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล   ໄດໂອດ   Diode test

Diode   ไดโอด
    ไดโอดสีดำเบอร์   FR207      Diode Rectifier  Fast recovery 
     ไดโอดตัวเล็ก เบอร์   1N4148   Diode Small  Signal 100V  200mA


วิธีวัดไดโอด  ใช้มิเตอร์ดิจิตอล
จะสาธิตโดยใช้ มิเตอร์ดิจิตอล  2 รุ่นเนื่องจาก 2 รุ่นนี้แสดงผลการวัดที่แตกต่างกันในบางประการ  ใช้หลักการวัดเหมือนกัน  คือมิเตอร์ดิจิตอลจะปล่อยแรงดันจากสายวัดแล้ววัดค่าแรงดันที่ตกคร่องไดโอดว่ามีปกติหรือไม่หรือ  ? 
1. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่  Diode Test
2. วัดและสลับสายวัด แล้วพิจารณาที่จอแสดงผล
ไดโอดดี
-จะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.3-0.8V  ขึ้นอยู่กับเบอร์ของไดโอด
-แสดง OL   1 ครั้ง
ไดโอดเสีย
- ซ๊อตแสดง  0.000V  ทั้ง 2 ครั้ง  มิเตอร์บางรุ่นแสดงเลข 000
- ขาดจะแสดง OL ทั้ง 2 ครั้ง มิเตอร์บางรุ่นแสดงเลข 1 แทน


ต่อปนี้คือรูปแสดง ไดโอดดีเมื่อวัดจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.3-0.8V  ขึ้นอยู่กับเบอร์ของไดโอดและแสดง OL   1 ครั้ง

test   diode   with   multimeter

test   Diode  check  diode

Diode test   мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng

Diode test  мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng

ໄດໂອດ    ການວັດ   DIODE   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

Diode test  мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng



มัลติมิเตอร์ดิจิตอลสีเหลืองนี้จะแสดงผลการวัดไดโอดแตกต่างจากมัลติมิเตอร์รุ่นด้านบน  มัลติมิเตอร์ดิจิตอลสีเหลืองนี้ชื่อรุ่น DT-830B ของ Sunwa  ตามคู่มือบอกว่าเมื่อใช้ย่านวัดไดโอดที่สายวัดจะมีแรงดัน จ่ายออกมา  2.8V และกระแส 1mA เพื่อไบอัสไดโอด  ตัวเลขที่หน้าจอมีหน่วยเป็น mV  ดูรูปด้านล่างประกอบ  ถ้าไดโอดดีจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.3-0.8V 1 ครั้ง  แรงดันขึ้นอยู่กับเบอร์ของไดโอดและแสดงเลข 1    1  ครั้ง
ไดโอดเสีย
- ซ๊อตแสดง แสดงเลข  000 (หรือ001)   ทั้ง 2 ครั้ง   
- ขาดจะแสดงเลข 1  ทั้ง 2 ครั้ง  

test   diode   with   multimeter
                                                494    = 494mV    หรือ  0.494V  

test   diode   with   multimeter



วิธีวัดไดโอด ใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
หลักการที่ต้องรู้เมื่อใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดไดโอด จะใช้ย่านวัด Rx 1 ในการวัดไดโอด ที่ย่านวัดนี้จะจ่ายแรงดันออกมา 3VDC  150mA  เพื่อไบอัสไดโอดเมื่อไบอัสตรงเข็มจะขึ้นและมีกระแสไหล่ผ่านไดโอดและไบอัสกลับเข็มไม่ขึ้น  ให้ดูรูปด้านล่างประกอบ
1. ปรับมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านวัด Rx1  ปรับซีโรโอห์มเพื่อให้ผลการวัดถูกต้องและเช็คมิเตอร์พร้อมใช้งาน
2. ให้วัด 1 ครั้งจากนั้นสลับสายวัดเพื่อวัดครั้ง 2
3. พิจารณาผลการวัดดังนี้

ไดโอดดี 
- เข็มขึ้น 1 ครั้ง
-เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง
ไดโอดเสีย
-ขาด เข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง
-ซ๊อต เข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง

test   diode   with   multimeter
                                                        รูปแสดง    ไดโอดดี  เข็มขึ้น 1 ครั้ง


test   diode   with   multimeter
                                                    รูปแสดง    ไดโอดดี  เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง

Diode test
                                       รูปแสดง    ไดโอดเสีย  เข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้งเลย คือซ๊อต

Diode test
                             รูปแสดง    ไดโอดเสีย  เข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง  2 ครั้ง  คือขาด



เลือกเรื่องถัดไปที่น่าสนใจอ่านต่อ  
เช่น  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี  17 ตอน

วัดไดโอดบริดจ์ ง่ายๆ วัดตาม ขาไดโอดบริด ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอดบริดจ์ง่ายๆ เหมือนกับการวัดไดโอด 4 ตัว เพราะข้างในของไดโอดบริดจ์มีไดโอด 4 ต่อกันอยู่ ลักษณะการต่อมีมาตรฐานตำเหน่งขาแน่นอนและชัดเจน  ต้องจำภาพลักษณะวงจรข้างในให้ได้หรือบันทึกรูปไว้ดูก็ได้   หลังจากดูรูปวงจรนี้ 2-3 รอบแล้วและวัดอุปกรณ์จริงก็จะจำวงจรข้างในได้   ไดโอดบริดจ์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญของภาคจ่ายไฟดังนั้นการวัดดีเสียตัวนี้เป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

test   bridge rectifier testing  วัดไดโอดบริดจ์
                                              
                                                ตำเหน่งขาไดโอดบริดจ์  และ วงจรข้างใน


ไดโอดบริดจ์   ໄດໂອດ   bridge rectifier diode
                                                        ไดโอดบริดจ์     แบบต่างๆ
                            

ตำเหน่งขาไดโอดบริดจ์และวงจรข้างในมีตำเหน่งขาและมาตรฐานการต่อที่แน่นอน ไม่ว่าจะสลับด้านอย่างไร วงจรข้างในก็จะยังเหมือนเดิมตามรูป   ให้สังเกตทิศทางและเส้นทางของไดโอดแบ่งออกเป็น 2 เส้นทางคือเส้นสีแดงและเส้นสีน้ำเงิน  โดยแต่ละเส้นทางเริ่มที่ขา -  และไหลไปยังขา  + 

test  bridge rectifier testing


ที่ตัวไดโอดบริดจ์จะมีชื่อขา  +  -   AC และ  AC ทั้งหมด 4  เพื่อใช้ในการอธิบายให้เข้าใจง่ายๆจะใส่ตัวเลขเข้าไปเป็น AC1   AC2 ตามรูป  ให้สังเกตเพิ่มอีกว่าขา - จะอยู่ใกล้ขา AC1    และขา + จะอยู่ใกล้ขา AC2

bridge rectifier
ไดโอดบริดจ์  bridge rectifier testing


ลำดับขั้นตอนการวัดไดโอดบริดจ์ 4 ขา
เพื่อให้การวัดครบทุกขาและวัดไดโอดครบทุกตัวจะกำหนดขั้นตอนการวัดตามนี้   ทั้งนี้อาจกำหนดลำดับขั้นตอนแบบอื่นก็ได้ขึ้นอยู่กับการทำความเข้าใจวงจรข้างในของผู้วัด  จุดสำคัญคือการวัดไดโอดให้ครบทั้ง 4  ตัว ในที่นี้จะยึดขา + และขา - นำแล้วไปวัดเทียบกับขา AC1 และขา AC2  ให้สังเกต 4 ข้อด้านล่างนี้จะวัดไดโอดครบทั้ง 4 ตัวเลย     ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ย่านวัดไดโอด

1. วัดขา -  กับขา AC1 หรือวัดไดโอดตัวที่ 1 
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL   1 ครั้ง

test   diode bridge  with   multimeter

วัดไดโอดบริดจ์  bridge rectifier testing


2. วัดขา + กับขา AC1 หรือวัดไดโอดตัวที่ 2
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL   1 ครั้ง

วัดไดโอดบริดจ์  bridge rectifier testing

วัดไดโอดบริดจ์   bridge rectifier testing


3. วัดขา - กับขา  AC2 หรือวัดไดโอดตัวที่ 3
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL   1 ครั้ง

bridge rectifier testing
bridge rectifier testing



4. วัดขา + กับขา AC2 หรือวัดไดโอดตัวที่ 4
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL   1 ครั้ง
bridge rectifier testing

ໄດໂອດ    ການວັດ   DIODE




ถ้าไดโอดข้างในตัวใดตัวหนึ่งเสียนั้นคือไดโอดบริดจ์เสีย และไดโอดข้างในอาจจะเสียมากกว่า 1 ตัวก็ได้
ลักษณะของไดโอดเสียคือ  
1).  ไดโอดขาด วัดแล้วหน้าจอแสดง    OL    ทั้ง 2 ครั้ง
2).  ไดโอดซ๊อต  วัดแล้วหน้าจอแสดง 0.00  ทั้ง 2 ครั้ง 



เลือกหัวข้อต่อไปนี้   เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์     มี    17   ตอน

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธีวัดไดโอด 3 ขา

วิธีวัดไดโอด  3  ขาไม่ยาก มันมีรายละเอียดเพิ่มเข้ามานิดหน่อยจากการวัดไดโอด 2 ขา ถ้าวัดไดโอด 2 ขาได้ก็สามารถเข้าใจการวัดไดโอด  3  ขาได้ง่ายๆ  ประเด็นที่สำคัญก่อนวัดต้องรู้ว่าวงจรข้างในมันต่อกันอย่างไร  รูปแบบการต่อที่นิยมใช้งานรูปด้านล่าง  ให้นำเบอร์ ไดโอด  3  ขา ไปค้นหาใน Datasheet เพื่อดูวงจรข้างใน    ยกตัวอย่างเบอร์  MBR2045CTG  เป็นการต่อแบบคอมมอนแคโทด  ไดโอด  3  ขาบางเบอร์อาจมีไดโอดแค่ 1 ตัวเนื่องจากขา 2 และ 3 ต่อถึงกันก็มี



วัดไดโอด  3  ขา  Diode  3 pin


Diode  3 pin

วงจรข้างใน ต่อแบบคอมมอนแคโทด ( Common Kathode )



Diode  3 pin
                                     วงจรข้างใน ต่อแบบคอมมอนแอโนด ( Common Anode )

Diode  3 pin
                                                  วงจรข้างใน ต่อแบบไดโอดสลับทางกัน


วิธีวัดไดโอด  3  ขา
สำหรับมัลติมิเตอร์แบบเข็มใช้ย่านวัด Rx1 หรือ Rx10 ก็ได้  สำหรับมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลใช้ฟังก์ชั่นวัดไดโอดก็ง่ายดี   หลังจากรู้วงจรข้างในของไดโอด 3 ขาที่่จะทำการวัดแล้ว ให้วัดไดโอดที่ละตัว ถ้าเป็นไดโอดที่ดีเข็มจะขึ้น 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง  กรณีไม่สะดวกหาวงจรภายในของไดโอด 3 ขาให้ใช้วิธีการสุ่มวัดไปเลยคือถ้าเป็นไดโอดที่ดีเข็มจะขึ้น 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง      กรณีไดโอดเสียวัดแล้วเข็มจะไม่ขึ้นเลยสักครั้งคือขาด  วัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้งคือเสียแบบซ๊อต


test   diode    with   multimeter
                                            วัดขา 1 และ 2 ของ MBR2045CTG   เข็มขึ้น 1 ครั้ง 



Diode  3 pin  test
                                   สลับสายวัดขา 1 และ 2 ของ  MBR2045CTG   เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง 



test   diode    with   multimeter
                                                      วัดขา 2 และ 3 ของ MBR2045CTG   เข็มขึ้น 1 ครั้ง 


Diode  3 pin  test
                                       สลับสายวัดขา 2 และ 3 ของ MBR2045CTG   เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง




เลือกหัวข้อต่อไปนี้   เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วัดไดโอดบริดจ์ 4 ขา วัดไดโอด 4 ขา ไดโอดบริดจ์ 220V

ไดโอดบริดจ์มี  4 ขา   คือ   ขา AC    ขา AC    ขา +    และ  ขา -   ไดโอดบริดจ์ใช้กับไฟ 220VAC ในวงจรเร็คติฟายเออร์มีระดับกระแสตั้งแต่แอมป์ต่ำเช่น 1A จนถึงแอมป์สูงเช่น 50A  ยกตัวอย่างเบอร์ KBPC5010  ทนกระแส   50A   1000V  ตัวถังหรือเคสของไดโอดบริดจ์มีแบบเคสโลหะ และเคสพลาสติก ก่อนวัดต้องรู้จักและจำวงจรข้างใน วงจรไดโอดบริด 4 ขา ตามรูปด้านล่างนี้ให้ได้ก่อน



Test   bridge  rectifier  with  multimeter .

Check   internal  circuit   of   bridge  rectifier  before   testing .

Note :  Notice  arrow  or   direction   of  diode   from  -  to  +   terminal.

It    has   2   branches :   2   upper  diode  and   2   other  didoe .


test  bridge rectifier  with multimeter
                                                          วงจรข้างใน  วงจรไดโอดบริด 4 ขา 



วัดตรงขา +  และ -  จะเจอได้ไดโอด 2 ตัว   คือ  0.5V + 0.5V  =  1V  วัดได้ค่าโดยประมาณ 

ถ้าไดโอดปกติดีจะวัดเจอไดโอด  2 ตัวนี้ และแสดงว่าแรงดันที่ตกคร่อมไดโอด 2 ตัว

test bridge rectifier with multimeter

                From internal  circuit diagram , between + and - terminals   there is  2 didoe  and  good 

Bridge  recififier  will dispaly   around   1V  (  0.5V  for  1  diode  and  0.5V  for  1 diode )



ระหว่างขา AC กับ AC  ทิศทางไดโอดจะกั้นกระแสไว้หมดจึงไม่มีกระแสไหลเลย ไดโอดบริดจ์ดีจะวัดได้   OL   ให้ดูวงจรข้างในด้านบนประกอบ

test bridge rectifier

                    Between  AC   and   AC  terminals , there is not any connection reveiw from   above  internal circuit diagram  so   good   bridge   recififier   will    display   " OL "



ดูตัวอย่างไดโอดบริดจ์ 4 ขา เบอร์อื่นๆ เพิ่ม เมื่อวัดด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

test  bridge rectifier  with multimeter
                                                                         ไดโอดบริดจ์  4 ขา

วิธีวัด  ไดโอดบริดจ์   วัดไดโอด 4 ขา 

1. วัดตามหลักง่ายๆ คือ  วัดขา AC กับขา  AC ทั้ง 2 ต้องไม่ซ๊อตหรือต่อถึงกัน เนื่องจากไฟ AC สายไลน์กับสายนิวทรอลไม่ได้ช๊อตถึงกัน   สลับสายวัดเข็มก็ต้องไม่ขึ้นเช่นกัน   ใช้ย่านวัด Rx1 หรือ  Rx10 ก็ได้

test  bridge rectifier  with multimeter
                                                      วัดขา AC กับขา  AC เข็มต้องไม่ขึ้น 

test   diode  bridge   with   multimeter
                                            สลับสาย วัดขา AC กับขา  AC  เข็มต้องไม่ขึ้น

2  ขา + กับ  ขา -  ตามหลักง่ายๆกระแสไฟ DC สามารถไหลได้ทิศทางเดียว การวัดขา + กับ ขา - ต้องวัดเข็มขึ้น 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้งนั่นคือไดโอดบริดจ์ ดี  ถ้าเข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้งคือซ๊อตและเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้งคือขาด

test  bridge rectifier  with multimeter
                                                             วัดขา + กับ  ขา -    เข็มต้องไม่ขึ้น 1 ครั้ง


test   diode  bridge   with   multimeter
                                                             วัดขา + กับ  ขา - เข็มต้องขึ้น 1 ครั้ง


3. วัดขา +   กับขา AC ด้านบน   กับขา AC ด้านล่าง  ให้ดูวงจรข้างในของวงจรไดโอดบริด 4 ขา ด้านบน การวัดแบบนี้คือการวัดไดโอดทีละตัวโดยยึดขา + เป็นหลักแล้ววัดเทียบกับขา AC ทั้ง 2 นั้นถ้าไดโอดดีต้องวัดแล้วเข็มขึ้น 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง  กรณีไดโอดเสียแบบขาดคือวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง เสียแบบซ๊อตคือวัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง ( 0 Ohm )

test  bridge rectifier testing
                                                 วัดขา +   กับขา AC ด้านบนเข็มขึ้น 1 ครั้ง


bridge rectifier testing
                                           สลับสาย วัดขา +   กับขา AC ด้านบน เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง


bridge rectifier testing
                                                    วัดขา +   กับขา AC ด้านล่าง   เข็มขึ้น 1 ครั้ง


test  bridge rectifier  with multimeter
                                               สลับสาย วัดขา +   กับขา AC ด้านล่าง   เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง


4. วัดขา  -   กับขา AC  ด้านบน   กับขา AC ด้านล่าง  ให้ดูวงจรข้างในของวงจรไดโอดบริด 4 ขา ด้านบนอีกเช่นกัน   การวัดแบบนี้คือการวัดไดโอดทีละตัวโดยยึดขา -  เป็นหลักแล้ววัดเทียบกับขา AC ทั้ง 2 นั้นถ้าไดโอดดีต้องวัดแล้วเข็มขึ้น 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง  กรณีไดโอดเสียแบบขาดคือวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง เสียแบบซ๊อตคือวัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง ( 0 Ohm )


เลือก      เรื่องถัดไปที่น่าสนใจ         อ่านต่อ  
เช่น  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี  17 ตอน



การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน TVS diode คือไดโอดที่ทำหน้าที่ ...    การวัด TVS Diode

TVS  diode คือไดโอดที่ทำหน้าที่ป้องกันวงจรและอุปกรณ์ตัวอื่นจากแรงดันทรานเซียนต์ แรงดันทรานเซียนต์อาจเกิดจากฟ้าผ่า และ  การเปลี่ยนแปลงของแรงดันที่รวดเร็วเนื่องจากสาเหตุต่างๆในวงจรเองหรือมาจากแหล่งภายนอกวงจร    TVS ย่อมาจาก  Transient Voltage Suppressor  บางคนก็เรียกว่า ไดโอด TVS  อุปกรณ์หลายตัวไม่สามารถทนแรงดันทรานเซียนต์ได้ เช่นรอยต่อข้างในอาจทะลุเสียหาย  การทำงานผิดปกติ    คุณสมบัติความเป็นฉนวนเปลี่ยนไป ดังนั้นจึงมีการออกแบบวงจรป้องกันแรงดันทรานเซียนต์เสริมเข้าไปในวงจรหลัก  เบอร์ของ TVS  diode ที่ช่างคุ้นกันจะขึ้นต้นประมาณ 1.5KE7.5A   ,  15KPA100CA   โดย 1.5K มีความหมายถึงไดโอด TVS ทนได้สูงสุด 1500W  Peak Pulse Power  และ  15K   ทนได้สูงสุด 15000W  Peak Pulse Power ตัวเลขที่อยู่ด้านหลังบอกแรงดันที่มันทำงาน ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์สำหรับการหาเบอร์แทน  ตัวเลขที่อยู่ในเบอร์บอกสเปคของตัวอุปกรณ์   ไดโอด TVS  แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อยคือ


1. แบบทำงานป้องกัน   1 ทาง  (  Uni-directional ) เบอร์จะลงท้ายด้วย A   เช่น  1.5KE7.5A

2. แบบทำงานป้องกัน   2 ทาง  ( Bi-directional )   เบอร์จะลงท้ายด้วย CA   เช่น  15KPA100CA


TVS  diode
       แบบทำงานป้องกัน    2 ทาง (  Bi-directional )  เบอร์จะลงท้ายด้วย  CA และที่ตัวไม่มีแถบสีขาว
Part number  ending   with  CA

                    
test  TVS  diodeแบบ ทำงานป้องกัน   1 ทาง (  Uni-directional  type  has  white  stripe  indication )  
                 เบอร์จะลงท้ายด้วย A  และ   ที่ตัวมีแถบสีขาว  Part number  ending  with A 




tvs diode symbol
                            สัญลักษณ์  TVS  diode แบบทำงานป้องกัน  2 ทาง หรือ  Bi-directional   

tvs diode symbol
                       สัญลักษณ์  TVS  diode แบบทำงานป้องกัน   1 ทาง หรือ  Uni-directional 

   

วิธีวัดไดโอด TVS  แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อยตามชนิดของมัน ไดโอด TVS ที่ใช้วัดสาธิตนี้เป็นของใหม่
การวัดให้ใช้ย่าน  R x 10  วัดและสสับสายวัดอีกครั้ง  การวัดนี้เป็นการวัดเพื่อเช็คดีเสียเบื่้องต้นที่ใช้ในงานซ่อมทั่วไป

1.  วัดไดโอด TVSแบบทำงานป้องกัน    2 ทาง  ( Bi-directional ) ถ้าอุปกรณ์ดีผลการวัดเข็มจะไม่ขึ้นเลยสักครั้ง
TVS  Diode  Test   diode   with   multimeter
         อุปกรณ์ดี     เข็มจะไม่ขึ้นเลยสักครั้ง   Bi-directional   type , the needle always point at  ∞.


TVS  Diode  Test
              อุปกรณ์ดี     เข็มจะไม่ขึ้นเลยสักครั้ง   Bi-directional   type , the needle always point at  ∞.


2.  วัดไดโอด TVS  แบบทำงานป้องกัน   1 ทาง  ( Uni-directional )  ถ้าอุปกรณ์ดีผลการวัดเข็มจะขึ้น 1 ครั้ง และเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้งตามรูปด้านล่าง

TVS  diode
        อุปกรณ์ดี     เข็มจะไม่ขึ้น 1 ครั้ง  Uni-directional  type  ,  the needle point at  ∞   1 time

test   TVS  diode
      และอุปกรณ์ดี  เข็มจะขึ้น 1 ครั้ง  Uni-directional  type  ,  the needle point at  low resistance   1 time
( or  other  word   it  point  at  0.7V (  see  LV scale)  which is a forward voltage drop )




เลือกหัวข้อต่อไปนี้   เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

การวัดตัวต้านทานปรับค่าได้ 1K 2K 5K 10K 20K 100K วัด VR โวลลุ่ม

ตัวต้านทานปรับค่าได้ที่มี 3 ขามีชื่อเรียกอีกชื่อว่าโพเทนชิโอมิเตอร์ (potentiometer)เมื่อนำไปใช้ลดหรือเพิ่มความดังของเสียงเรียกว่าโวลลุ่ม ค่าที่นิยมใช้และช่างมีค่าเหล่านี้เก็บไว้เป็นอะไหล่สำรอง  1K  2K  5K 10K 20K 100K  และค่าอื่นๆ   มีวิธีการวัดที่เหมือนกันมีรายละเอียดดังนี้


ตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขา   ຕົວຕ້ານທານ
                                       ตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขา  ค่า  1K   2K

ตัวต้านทานปรับค่าได้  potentiometer  5K  10K
                                            ตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขา  ค่า 5K   10K


1. อ่านค่าความต้านทานที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ ตามรูปตัวอย่างนี้ค่า 10K

ตัวต้านทานปรับค่าได้  potentiometer   10K
                                                         ตัวต้านทานปรับค่าได้ ค่า 10K
                                                          

2. ปรับย่านวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านวัดที่เหมาะสม  เช่นตัวต้านทานปรับค่าได้ค่า 10K ใช้ย่านวัด  X1K   ,   ค่า 1K ใช้ย่านวัด X100  เป็นต้น

3. เช็คตอนเป็นตัวต้านทานค่าคงที่    วัดขา 1 และ 3 แล้วให้มองว่าเป็นตัวต้านทานค่าคงที่ เช่นค่า 10K 

ควรจะวัดค่าได้ใกล้เคียงกับค่า 10K จึงจะเป็นตัวต้านทานที่ดี  ถ้าเสียคือวัดไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลย

ได้ค่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็นมากหรือสูงกว่าที่ควรจะเป็นมากก็เสีย

โพเทนชิโอมิเตอร์  potentiometer  ຕົວຕ້ານທານ

ການວັດ   Resistor    potentiometer  test
                                          ค่า 10K วัดได้ใกล้เคียงกับ 10K จึงเป็น  VR ที่ดี


4. เช็คตอนเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้   ให้วัดขา 1 และขา  2   เมื่อหมุนแกนเพื่อปรับค่าความต้านทานควรจะเปลี่ยนตามองศาการหมุน เช่นค่า 10K ควรจะเพิ่มหรือลดในช่วง  0-10K และ  จาก 10K-0 Ohm  ถ้าหมุนแกนแล้วค่าความต้านทานไม่เปลี่ยนตามการหมุนคือ VR เสีย

ການວັດ   Resistor


5. เช็คตอนเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้   ให้วัดขา 2 และ 3  เมื่อหมุนแกนเพื่อปรับค่าความต้านทานควรจะเปลี่ยนตามองศาการหมุน เช่นค่า 10K ควรจะเพิ่มหรือลดในช่วง  0-10K และ  จาก 10K-0 Ohm  ถ้าหมุนแกนแล้วค่าความต้านทานไม่เปลี่ยนตามการหมุนคือ VR เสีย

potentiometer  test



เลือกหัวข้อต่อไปนี้   เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี   17  ตอน