การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธีวัดไอซี IC 8 ขา 10 ขา 14 ขา 16 ขา 20 ขา ด้วยมัลติมิเตอร์ ( ການວັດ IC )

ไอซี คือ วงจรรวม   (  IC :  integrated circuit ) หมายถึงข้างในมีอุปกรณ์หลายตัวต่อกันเป็นวงจรเพื่อทำหน้าที่ตามที่ออกแบบไว้ หุ้มปิดเป็นแพคเกจต่างๆ มีขาออกมาสำหรับต่อใช้งาน ขาของไอซีมีทั้งแบบลงปริ้น และแบบ SMD บัดกรีบนผิวลายทองแดง  IC  มีหลายเบอร์และหลายหน้าที่ จำนวนขาจะมีตั้งแต่  3 ขา 8 ขา 10 ขา 14 ขา 16 ขา 20 ขา และมากกว่านี้  ในบรรดาขาของไอซีนั้นจะมีขา VCC และขา Ground  ในการวัดไอซีดีเสียจะวัดขา ขา VCC และขา Ground  นี้จากหลักที่ว่าถ้าวงจรดีจะมีความต้านระดับหนึ่ง ถ้าวัดแล้วขึ้น 0 Ohm คือซ๊อตถ้าวัดแล้วไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลยสักครั้งคือเสียลักษณะขาด


วิธีวัดไอซี  ICs chip test and check
             ขา 1 ของ IC เริ่มนับตรงจุดและมี  Mark ตรงขอบ หาขา VCC และ G์ND จาก Datasheet


ขั้นตอนวัดไอซี IC  8 ขา 10 ขา 14 ขา 16 ขา 20 ขา ด้วยมัลติมิเตอร์

1. หาขา VCC และ G์ND จาก Datasheet ของไอซีเบอร์ที่จะวัด

2. ใช้ย่านวัด  R x 100 ในการวัดเนื่องจากมีกระแสจ่ายออกมาจากสายวัด 3VDC 1.5mA  กระแส 1.5mA ไม่มากเกินไปสำหรับใช้ทดสอบ IC ทั่วไป

3 ปรับซีโอห์มก่อนวัดเพื่อให้ผลการวัดถูกต้อง

4. ให้วัดขา VCC และ GND  และสลับสายวัดแล้ววัดอีกครั้ง

5. พิจารณาผลการวัด ถ้า IC ดีจะขึ้นค่าความต้านทานต่ำ  ( เข็มขึ้นมาก 1 ครั้ง ) และขึ้นค่าความต้านสูงกว่า ( เข็มขึ้นน้อย 1 ครั้ง บางเบอร์เข็มไม่ขึ้น ) 

IC เสีย : ซ๊อต ขึ้นสเกลทั้ง 2 ครั้ง  ,  ขาด เข็มไม่ขึ้นเลย  , รั่ว เข็มขึ้นน้อยๆขึ้นเท่ากันทั้ง 2 ครั้ง

6. ให้วัดเฉพาะขา VCC และขา GND เท่านั้นเนื่องจากกระแสและแรงดันจากสายวัดมิเตอร์ อาจไปทำลาย IC ได้เนื่องจาก IC บางเบอร์บางขาไม่สามารถทนกระแสและแรงดันจากสายวัดมิเตอร์ได้  ขณะที่ขา VCC และขา GND ใช้ต่อไปเลี้ยงโดยตรงกระแสทดสอบน้อยระดับ 1.5mA จึงไม่มีปัญหากับ 2 ขานี้

7.  IC บางเบอร์มีชุดไฟเลี้ยงมากกว่า 1 ชุด เช่น VCC1  GND1 , VCC2 GND2 ก็วัดให้ครบทุกชุด ต้องดีทุกชุดจึงจะเป็น IC ดี

8. การวัดดีเสียแบบนี้เป็นการวัดเบื้องต้นเท่านั้น การวัดที่มากกว่านี้ให้วัดตอน IC ทำงานและต้องเข้าใจการทำงานของ IC เบอร์นั้นๆด้วย รวมทั้งเครื่องมือวัดที่ใช้จะซับซ้อนกว่าเช่นใช้ออสซิลโลสโคป เป็นต้น

ICs chip test and check
                                            IC  ดี   เข็มขึ้นมาก 1 ครั้ง   ( ได้ค่าความต้านทานต่ำ  )


ICs  chip  test    check  IC  chip
                                   IC  ดี   เข็มขึ้นน้อยกว่า  1 ครั้ง   ( ได้ค่าความต้านทานมากกว่า  )
                                   บางเบอร์เข็มไม่ขึ้น  

   


อ่านต่อ    เลือกหัวข้อ น่าสนใจ  ที่นี้  ..............
เช่น    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วัดทรานซิสเตอร์ NPN PNP ด้วย มัลติมิเตอร์ดิจิตอล การหาขาทรานซิสเตอร์ ( ການວັດ Transistor )

วัดทรานซิสเตอร์ดีเสียง่ายๆด้วยมองการวัดทรานซิสเตอร์ให้เป็นการวัดไดโอด 2 ตัว  ทรานซิสเตอร์มีชิ้นสาร P สาร N รวมทั้งหมด 3 ชิ้นส่วนไดโอดมีสาร P สาร N ทั้งหมด 2 ชิ้น  สังเกตตรงรอยต่อ PN ทรานซิสเตอร์จะมีรอยต่อ PN  2 รอยต่อ   1 รอยต่อ PN ก็มองเป็นไดโอด 1 ตัว   2 รอยต่อ PN ก็มองเป็นไดโอด 2 ตัวและไดโอด 2 ตัวนี้ต่อคอมมอนกันอยู่    ปกติแล้วการวัดทรานซิสเตอร์ต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานและวัดตามขั้นตอนเพื่อให้วัดได้ครบทุกขา  แต่สำหรับคนที่ชำนาญแล้วจะมุ่งวัดทรานดีเสียโดยไม่จำเป็นต้องรู้ตำเหน่งขาของทรานซิสเตอร์เลย   ทรานซิสเตอร์ส่วนใหญ่จะเสียลักษณะขาด จะสุ่มวัดไปเลยถ้าวัดขึ้น OL ทุกครั้งคือทรานซิสเตอร์ขาด และ ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V  ( เมื่อใช้ย่านวัดไดโอด Diode Test ) หรือขึ้นค่าความต้านทานต่ำมากๆ  0 Ohm เมื่อใช้ย่านวัดโอห์มวัด


ช่วงแรกเป็นการวัดทรานซิสเตอร์ดีเสียและช่วงสุดท้ายแสดงการการหาขาทรานซิสเตอร์ แนะนำให้อ่านทั้งหมดตามลำดับเพราะ 2 เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกัน


test  Transistor  NPN

                     ทรานซิสเตอร์ NPN มองเป็น ไดโอด 2 ตัวต่อแบบคอมมอนแอโนด



test  Transistor  PNP

                              ทรานซิสเตอร์ PNP มองเป็น ไดโอด 2 ตัวต่อแบบคอมมอนแคโทด


ทรานซิสเตอร์ที่ใช้วัดสาธิตคือเบอร์ 2N3904 มีตำเหน่งขา  E  B  C เรียงลำดับ 1-2-3 ตามรูป ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อื่นๆอาจมีตำเหน่งขาที่แตกต่างจากนี้ ให้นำเบอร์ของทรานซิสเตอร์ค้นหาตำเหน่งขาจาก Datasheet 

Transistor test
                     ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์   2N3904   มีตำเหน่งขาเรียง  E   B   C  


วัดทรานซิสเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

1. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลไปที่ย่านวัดไดโอด ( Diode Test ) 

2. ค้นหาตำเหน่งขาของทรานซิสเตอร์ที่จะวัด ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์   2N3904   มีตำเหน่งขาเรียง  E   B   C  ตามรูปทรานซิสเตอร์จริงๆ ด้านบน

วัดทรานซิสเตอร์    test  Transistor


test   transistor  with   multimeter
                                              วัดขา  B กับขา E  วัดได้แรงดันตกคร่อง 0.649V


วัดทรานซิสเตอร์  Transistor test
                                                    วัดขา  B  กับขา  C   วัดได้แรงดันตกคร่อง 0.628V


                                                สลับสายวัดขา  B กับขา E  แสดงค่า OL



วัดทรานซิสเตอร์  ການວັດ  Transistor  Test
                                           สลับสายวัด  B  กับขา  C    แสดงค่า OL

3.   พิจารณาผลการวัด    ขา B กับขา E และวัดขา B  กับขา C   ใช้หลักการเดียวกัน  ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า 0.6-0.7V   1 ครั้ง  และแสดงค่า OL   1 ครั้ง   ถ้าทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะขาด จะวัดขึ้น OL ทุกครั้ง และ ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V  ทุกครั้ง

4. วัดขา E  และขา C  และสสับสายวัดอีกครั้งถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า OL ทุกครั้ง ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V  ทุกครั้ง

5. ทรานซิสเตอร์ที่ดี ผลการวัดขา B-C  วัดขา B-E และวัดขา C-E  ผลการวัดต้องดีหมด


                                          วัดขา E  และขา C   ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า OL ทุกครั้ง

Transistor test
                         สสับสายวัด วัดขา E  และขา C   ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า OL ทุกครั้ง


การหาขาทรานซิสเตอร์ ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

ให้สุ่มวัดถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ NPN สายวัดสีแดงจะเป็นขา B ตามรูปด้านล่างนี้  

การวัดครั้งที่ได้ค่าแรงดันตกคร่อมมากกว่าจะเป็นขา E เช่นวัดได้ 0.649V

ส่วนครั้งที่วัดแรงดันตกคร่อมได้น้อยกว่าจะเป็นขา C  เช่นวัดได้ 0.628V

ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์   2N3904 ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อื่นจะได้แรงดันแตกต่างจากนี้

แต่หลักการยังเหมือนเดิมคือวัดขา B-E ได้แรงดันตกคร่อมมากกว่าแรงดันตกคร่อมขา B-C ที่เป็นเช่นนี้เพราะรอยต่อ PN ระหว่างขา B-E ได้รับการโด๊ปมากกว่า


             ทรานซิสเตอร์  NPN  สายวัดสีแดง เป็น ขา B แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C


Transistor test
              วัดทรานซิสเตอร์   NPN เบอร์   2N3904   สายวัดสีแดง เป็น ขา B  สายวัดสีดำเป็นขา E
              ข้อที่ต้องจำ แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C



ການວັດ  Transistor   test
              วัดทรานซิสเตอร์   NPN เบอร์   2N3904   สายวัดสีแดง เป็น ขา B  สายวัดสีดำเป็นขา C
              ข้อที่ต้องจำ แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C





             ทรานซิสเตอร์  PNP   สายวัดสีดำ เป็น ขา B แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C เช่นกัน



 อ่านต่อ    เลือกหัวข้อ   น่าสนใจ  ที่นี้  ..........
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือถือ หรือ  เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง

วัดไดโอด ใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล และ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ( ການວັດ DIODE )

 จะสาธิตและอธิบายการวัดไดโอดโดยใช้ทั้ง มิเตอร์ดิจิตอล  และ มัลติมิเตอร์แบบเข็มเพราะหลายคนมีมัลติมิเตอร์แบบเข็ม  ตอนเรียนอิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มเรียนพื้นฐานโดยใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดอุปกรณ์ดีเสีย  สำหรับคนที่ขยับขึ้นมาใช้มิเตอร์ดิจิตอลก็ดีเช่นกันเพราะใช้งานง่ายกว่า มีฟังก์ชั่นและย่านวัดเยอะกว่า การใช้มัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบวัดอุปกรณ์ต้องเข้าใจและใช้หลักการพื้นฐานเหมือนกัน   มิเตอร์ดิจิตอลมีหลายระดับราคา ราคาที่ต่างกันหมายถึง % ระดับความเที่ยงตรงและความถูกต้องของค่าที่วัดแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังแยกย่อยประเภทออกเป็น นำไปใช้งานวัดงานซ่อมทั่วไป   นำไปใช้งานวัดงานซ่อมอุตสาหกรรม  นำไปใช้งานซ่อมงานวัดระดับห้อง LAB   เป็นต้น การเลือกซื้อก็ต้องพิจารณดูเช่นกันเพราะบางยี่ห้อเขียนสเปคดีเกินจริงซึ่งราคาถูกขนาดนี้มันไม่น่าจะมีความสามารถตามที่กล่าวอ้างขนาดนั้นเรียกประเด็นประมาณนี้ว่าความน่าเชื่อถือของยี่ห้อ 


วัดไดโอด  ใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล   ໄດໂອດ   Diode test

Diode   ไดโอด
    ไดโอดสีดำเบอร์   FR207      Diode Rectifier  Fast recovery 
     ไดโอดตัวเล็ก เบอร์   1N4148   Diode Small  Signal 100V  200mA


วิธีวัดไดโอด  ใช้มิเตอร์ดิจิตอล
จะสาธิตโดยใช้ มิเตอร์ดิจิตอล  2 รุ่นเนื่องจาก 2 รุ่นนี้แสดงผลการวัดที่แตกต่างกันในบางประการ  ใช้หลักการวัดเหมือนกัน  คือมิเตอร์ดิจิตอลจะปล่อยแรงดันจากสายวัดแล้ววัดค่าแรงดันที่ตกคร่องไดโอดว่ามีปกติหรือไม่หรือ  ? 
1. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่  Diode Test
2. วัดและสลับสายวัด แล้วพิจารณาที่จอแสดงผล
ไดโอดดี
-จะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.3-0.8V  ขึ้นอยู่กับเบอร์ของไดโอด
-แสดง OL   1 ครั้ง
ไดโอดเสีย
- ซ๊อตแสดง  0.000V  ทั้ง 2 ครั้ง  มิเตอร์บางรุ่นแสดงเลข 000
- ขาดจะแสดง OL ทั้ง 2 ครั้ง มิเตอร์บางรุ่นแสดงเลข 1 แทน


ต่อปนี้คือรูปแสดง ไดโอดดีเมื่อวัดจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.3-0.8V  ขึ้นอยู่กับเบอร์ของไดโอดและแสดง OL   1 ครั้ง

test   diode   with   multimeter

test   Diode  check  diode

Diode test   мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng

Diode test  мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng

ໄດໂອດ    ການວັດ   DIODE   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

Diode test  мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng



มัลติมิเตอร์ดิจิตอลสีเหลืองนี้จะแสดงผลการวัดไดโอดแตกต่างจากมัลติมิเตอร์รุ่นด้านบน  มัลติมิเตอร์ดิจิตอลสีเหลืองนี้ชื่อรุ่น DT-830B ของ Sunwa  ตามคู่มือบอกว่าเมื่อใช้ย่านวัดไดโอดที่สายวัดจะมีแรงดัน จ่ายออกมา  2.8V และกระแส 1mA เพื่อไบอัสไดโอด  ตัวเลขที่หน้าจอมีหน่วยเป็น mV  ดูรูปด้านล่างประกอบ  ถ้าไดโอดดีจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.3-0.8V 1 ครั้ง  แรงดันขึ้นอยู่กับเบอร์ของไดโอดและแสดงเลข 1    1  ครั้ง
ไดโอดเสีย
- ซ๊อตแสดง แสดงเลข  000 (หรือ001)   ทั้ง 2 ครั้ง   
- ขาดจะแสดงเลข 1  ทั้ง 2 ครั้ง  

test   diode   with   multimeter
                                                494    = 494mV    หรือ  0.494V  

test   diode   with   multimeter



วิธีวัดไดโอด ใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
หลักการที่ต้องรู้เมื่อใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดไดโอด จะใช้ย่านวัด Rx 1 ในการวัดไดโอด ที่ย่านวัดนี้จะจ่ายแรงดันออกมา 3VDC  150mA  เพื่อไบอัสไดโอดเมื่อไบอัสตรงเข็มจะขึ้นและมีกระแสไหล่ผ่านไดโอดและไบอัสกลับเข็มไม่ขึ้น  ให้ดูรูปด้านล่างประกอบ
1. ปรับมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านวัด Rx1  ปรับซีโรโอห์มเพื่อให้ผลการวัดถูกต้องและเช็คมิเตอร์พร้อมใช้งาน
2. ให้วัด 1 ครั้งจากนั้นสลับสายวัดเพื่อวัดครั้ง 2
3. พิจารณาผลการวัดดังนี้

ไดโอดดี 
- เข็มขึ้น 1 ครั้ง
-เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง
ไดโอดเสีย
-ขาด เข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง
-ซ๊อต เข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง

test   diode   with   multimeter
                                                        รูปแสดง    ไดโอดดี  เข็มขึ้น 1 ครั้ง


test   diode   with   multimeter
                                                    รูปแสดง    ไดโอดดี  เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง

Diode test
                                       รูปแสดง    ไดโอดเสีย  เข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้งเลย คือซ๊อต

Diode test
                             รูปแสดง    ไดโอดเสีย  เข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง  2 ครั้ง  คือขาด



อ่านต่อ    เลือกหัวข้อ  น่าสนใจ   ที่นี้  ........
เช่น  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน

วัดไดโอดบริดจ์ ง่ายๆ วัดตาม ขาไดโอดบริด ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอดบริดจ์ง่ายๆ เหมือนกับการวัดไดโอด 4 ตัว เพราะข้างในของไดโอดบริดจ์มีไดโอด 4 ต่อกันอยู่ ลักษณะการต่อมีมาตรฐานตำเหน่งขาแน่นอนและชัดเจน  ต้องจำภาพลักษณะวงจรข้างในให้ได้หรือบันทึกรูปไว้ดูก็ได้   หลังจากดูรูปวงจรนี้ 2-3 รอบแล้วและวัดอุปกรณ์จริงก็จะจำวงจรข้างในได้   ไดโอดบริดจ์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญของภาคจ่ายไฟดังนั้นการวัดดีเสียตัวนี้เป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

test   bridge rectifier testing  วัดไดโอดบริดจ์
                                              
                                                ตำเหน่งขาไดโอดบริดจ์  และ วงจรข้างใน


ไดโอดบริดจ์   ໄດໂອດ   bridge rectifier diode
                                                        ไดโอดบริดจ์     แบบต่างๆ
                            

ตำเหน่งขาไดโอดบริดจ์และวงจรข้างในมีตำเหน่งขาและมาตรฐานการต่อที่แน่นอน ไม่ว่าจะสลับด้านอย่างไร วงจรข้างในก็จะยังเหมือนเดิมตามรูป   ให้สังเกตทิศทางและเส้นทางของไดโอดแบ่งออกเป็น 2 เส้นทางคือเส้นสีแดงและเส้นสีน้ำเงิน  โดยแต่ละเส้นทางเริ่มที่ขา -  และไหลไปยังขา  + 

test  bridge rectifier testing


ที่ตัวไดโอดบริดจ์จะมีชื่อขา  +  -   AC และ  AC ทั้งหมด 4  เพื่อใช้ในการอธิบายให้เข้าใจง่ายๆจะใส่ตัวเลขเข้าไปเป็น AC1   AC2 ตามรูป  ให้สังเกตเพิ่มอีกว่าขา - จะอยู่ใกล้ขา AC1    และขา + จะอยู่ใกล้ขา AC2

bridge rectifier
ไดโอดบริดจ์  bridge rectifier testing


ลำดับขั้นตอนการวัดไดโอดบริดจ์ 4 ขา
เพื่อให้การวัดครบทุกขาและวัดไดโอดครบทุกตัวจะกำหนดขั้นตอนการวัดตามนี้   ทั้งนี้อาจกำหนดลำดับขั้นตอนแบบอื่นก็ได้ขึ้นอยู่กับการทำความเข้าใจวงจรข้างในของผู้วัด  จุดสำคัญคือการวัดไดโอดให้ครบทั้ง 4  ตัว ในที่นี้จะยึดขา + และขา - นำแล้วไปวัดเทียบกับขา AC1 และขา AC2  ให้สังเกต 4 ข้อด้านล่างนี้จะวัดไดโอดครบทั้ง 4 ตัวเลย     ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ย่านวัดไดโอด

1. วัดขา -  กับขา AC1 หรือวัดไดโอดตัวที่ 1 
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL   1 ครั้ง

test   diode bridge  with   multimeter

วัดไดโอดบริดจ์  bridge rectifier testing


2. วัดขา + กับขา AC1 หรือวัดไดโอดตัวที่ 2
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL   1 ครั้ง

วัดไดโอดบริดจ์  bridge rectifier testing

วัดไดโอดบริดจ์   bridge rectifier testing


3. วัดขา - กับขา  AC2 หรือวัดไดโอดตัวที่ 3
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL   1 ครั้ง

bridge rectifier testing
bridge rectifier testing



4. วัดขา + กับขา AC2 หรือวัดไดโอดตัวที่ 4
ให้วัดและสลับสายวัด ไดโอดดีหน้าจอจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V และแสดง OL   1 ครั้ง
bridge rectifier testing

ໄດໂອດ    ການວັດ   DIODE




ถ้าไดโอดข้างในตัวใดตัวหนึ่งเสียนั้นคือไดโอดบริดจ์เสีย และไดโอดข้างในอาจจะเสียมากกว่า 1 ตัวก็ได้
ลักษณะของไดโอดเสียคือ  
1).  ไดโอดขาด วัดแล้วหน้าจอแสดง    OL    ทั้ง 2 ครั้ง
2).  ไดโอดซ๊อต  วัดแล้วหน้าจอแสดง 0.00  ทั้ง 2 ครั้ง 



อ่านต่อ    เลือกหัวข้อ   น่าสนใจ  ที่นี้ .........
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์     มี    17   ตอน

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธีวัดไดโอด 3 ขา

วิธีวัดไดโอด  3  ขาไม่ยาก มันมีรายละเอียดเพิ่มเข้ามานิดหน่อยจากการวัดไดโอด 2 ขา ถ้าวัดไดโอด 2 ขาได้ก็สามารถเข้าใจการวัดไดโอด  3  ขาได้ง่ายๆ  ประเด็นที่สำคัญก่อนวัดต้องรู้ว่าวงจรข้างในมันต่อกันอย่างไร  รูปแบบการต่อที่นิยมใช้งานรูปด้านล่าง  ให้นำเบอร์ ไดโอด  3  ขา ไปค้นหาใน Datasheet เพื่อดูวงจรข้างใน    ยกตัวอย่างเบอร์  MBR2045CTG  เป็นการต่อแบบคอมมอนแคโทด  ไดโอด  3  ขาบางเบอร์อาจมีไดโอดแค่ 1 ตัวเนื่องจากขา 2 และ 3 ต่อถึงกันก็มี



วัดไดโอด  3  ขา  Diode  3 pin


Diode  3 pin

วงจรข้างใน ต่อแบบคอมมอนแคโทด ( Common Kathode )



Diode  3 pin
                                     วงจรข้างใน ต่อแบบคอมมอนแอโนด ( Common Anode )

Diode  3 pin
                                                  วงจรข้างใน ต่อแบบไดโอดสลับทางกัน


วิธีวัดไดโอด  3  ขา
สำหรับมัลติมิเตอร์แบบเข็มใช้ย่านวัด Rx1 หรือ Rx10 ก็ได้  สำหรับมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลใช้ฟังก์ชั่นวัดไดโอดก็ง่ายดี   หลังจากรู้วงจรข้างในของไดโอด 3 ขาที่่จะทำการวัดแล้ว ให้วัดไดโอดที่ละตัว ถ้าเป็นไดโอดที่ดีเข็มจะขึ้น 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง  กรณีไม่สะดวกหาวงจรภายในของไดโอด 3 ขาให้ใช้วิธีการสุ่มวัดไปเลยคือถ้าเป็นไดโอดที่ดีเข็มจะขึ้น 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง      กรณีไดโอดเสียวัดแล้วเข็มจะไม่ขึ้นเลยสักครั้งคือขาด  วัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้งคือเสียแบบซ๊อต


test   diode    with   multimeter
                                            วัดขา 1 และ 2 ของ MBR2045CTG   เข็มขึ้น 1 ครั้ง 



Diode  3 pin  test
                                   สลับสายวัดขา 1 และ 2 ของ  MBR2045CTG   เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง 



test   diode    with   multimeter
                                                      วัดขา 2 และ 3 ของ MBR2045CTG   เข็มขึ้น 1 ครั้ง 


Diode  3 pin  test
                                       สลับสายวัดขา 2 และ 3 ของ MBR2045CTG   เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง




 อ่านต่อ    เลือกหัวข้อ   น่าสนใจ  ที่นี้ ..............
 เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน