การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วัดทรานชิสเตอร์ HOR OUT Transistor มีไดโอดแดมป์เปอร์ D2499 2SD2499

ก่อนวัดทรานวัดทรานชิสเตอร์  HOR  OUT    มีไดโอดแดมป์เปอร์ มาดูตำเหน่งขาและโครงสร้างข้างในก่อนจะได้เข้าใจว่าทำไมจึงวัดขึ้นและวัดไม่ขึ้นได้  ตัวที่ใช้วัดสาธิตเป็นของใหม่  สังเกตตำเหน่งขาทรานซิสเตอร์เบอร์  2SD2499  จะเรียง B    C   E ตรงขา  B และ  E มีตัวต้านทานต่ออยู่จะสลับสายวัดอย่างไรเข็มก็จะแสดงว่าความต้านทานระดับหนึ่งตามค่า R    ส่วนตรงขา C กับขา E ให้มองเป็นเหมือนกันการวัดไดโอด คือขึ้น 1 ครั้งไม่ขึ้น 1 ครั้งดคือดี ดูรูปการวัดจริงประกอบ


H-Out Transistor  D2499   2SD2499


HORIZONTAL OUTPUT TRANSISTOR   D2499   2SD2499
                                            ทรานซิสเตอร์เบอร์  เบอร์    2SD2499  ชนิด NPN


HORIZONTAL OUTPUT TRANSISTOR D2499   2SD2499

                         โครงสร้างข้างใน  ทรานซิสเตอร์เบอร์  เบอร์    2SD2499  ชนิด NPN


ขั้นตอนการวัด

1. วัดขา  B กับขา E และขา B กับขา C  
ให้ใช่ย่านวัด Rx10  เหมือนการวัดทรานซิสเตอร์ทั่วไป
นำสายวัดสีดำจับที่ขา B  สายวัดสีแดงแตะที่ขา E จะวัดขึ้นตามรูป จากนั้นนำสายวัดสีแดงแตะที่ขา C 
จะวัดขึ้นตามรูป  ขา E กับขา C   เข็มจะวัดขึ้นใกล้เคียงกัน  = ดี


HORIZONTAL OUTPUT  TRANSISTOR
                                วัดขา  B กับขา E ต่อสายวัดตามรูปขึ้นประมาณนี้ = ดี

HORIZONTAL OUTPUT TRANSISTOR
                      วัดขา  B กับขา E ต่อสายวัดตามรูปขึ้นประมาณนี้ = ดี   ขึ้นใกล้เคียงกัน


2. สลับสายวัดแล้ววัด   ขา  B กับขา E และขา B กับขา C  อีกครั้ง

test  HORIZONTAL OUTPUT TRANSISTOR
                สลับสายวัดแล้ววัด   ขา  B กับขา E  ยังวัดขึ้นเหมือนเดิม 
                เนื่องจากขา B กับ E มี  R  ต่ออยู่  จะวัดและสลับสายวัด ก็จะวัดขึ้นตลอด


HORIZONTAL OUTPUT TRANSISTOR
                               สลับสายวัดแล้ววัด   ขา  B กับขา C   เข็มไม่ขึ้น = ดี

3. วัดขา C กับขา  E 
เนื่องจากขา C กับขา E มีไดโอดต่อคร่อมอยู่ให้ใช้ Rx 10 วัดต่อเลยก็ได้จะได้ผลการวัดเข็มขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง = ดี     เสียขาดคือวัดไม่ขึ้นเลยสักครั้ง  เสียซ๊อตคือขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง
กรณีใช้ Rx1K หรือ Rx10K ก็ได้ผล เข็มขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง = ดี 

                      วัดขา C กับขา  E  เข็มขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง = ดี  รูปนี้เข็มขึ้นมาก


H-Out Transistor
                     วัดขา C กับขา  E  เข็มขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง = ดี  รูปนี้เข็มไม่ขึ้น


สรุปการวัดทรานซิสเตอร์เบอร์ 2SD2499  นี้วัดโดยอิงตามโครงสร้างข้างใน ผสมผสานประยุกต์การวัดทรานซิสเตอร์ทั่วไป การวัด R และ ไดโอด



เลือกหัวข้อ    เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน


อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือถือ  หรือ เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง

R Fuse อาร์ฟิวส์ ตัวต้านทานฟิวส์

R  Fuse  หรือ  อาร์ฟิวส์  มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Fusible Resistor  และ  Safety  Resistor พบมีใช้ในวงจรแหล่งจ่ายไฟและวงจรควบคุม  หน้าที่ในวงจรหรือคุณสมบัติของอาร์ฟิวส์มี 2 อย่างคือ     1)  ทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานเพื่อจำกัดหรือลดกระแสพุ่ง กระแสเสิร์จ   2)  ทำหน้าที่เป็นฟิวส์ เมื่อมีปริมาณพลังงานความร้อนหรือวัตต์ที่ผ่านตัวมันสูงกว่าสเปคที่ออกแบบไว้มันจะขาดเพื่อตัดหรือเปิดวงจร

ข้อแตกต่างจากฟิวส์  ฟิวส์มีความเร็วในการตัดกระแสที่รวดเร็วกว่ามีกราฟการทำงานที่แตกต่างกัน และฟิวส์มีมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวดกว่า ขณะที่อาร์ฟิวส์  ( R  Fuse ) จะสะสมความร้อนและทนได้ตามกำลังวัตต์ของมันโดยอาร์ฟิวส์จะมีความต้านทานระดับโอห์ม ( ฟิวส์มีความต้านทานระดับมิลลิโอห์ม )   จุดประสงค์ของการใช้อาร์ฟิวส์คือไว้ลดกระแสพุ่งมันจะทนกระแสพุ่งได้ระดับหนึ่งตามสเปคถ้าปริมาณพลังงานเกินกว่าที่ตัวมันทนได้มันก็จะตัดหรือทำหน้าที่เป็น  Fuse  การทำงานในลักษณะ 2 หน้าที่นี้ฟิวส์จริงๆไม่สามารถทำได้   ส่วนฟิวส์จะมีความต้านทานต่ำมากๆระดับมิลลิโอห์มจึงมีพลังงานสูญเสียน้อยมาก มีความร้อนสะสมเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นมากๆ ฟิวส์สามารถเปิดวงจรได้อย่างรวดเร็วกว่าและปลอดภัยกว่าอาร์ฟิวส์     ฟิวส์มีคุณสมบัติที่โดดเด่นมีมาตรฐานการผลิตที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักซึ่งเข้มงวดกว่าอาร์ฟิวส์และ  อุปกรณ์ 2 ชนิดนี้มีมาตรฐานการผลิตที่แตกต่างกัน   ปกติแล้วในการตัดกระแสเกิน ( Over Current Protection  ) อย่างปลอดภัยจะใช้ฟิวส์และการลดกระแสพุ่งจะใช้  NTC  เทอร์มิสเตอร์ ( Thermistor)  ผู้ออกแบบวงจรเลือก ใช้ R ฟิวส์นกรณีที่วัตต์ไม่สูงมากโดยใช้คุณสมบัติของ R Fuse ทำ 2 หน้าที่โดยใช้เพียงอุปกรณ์ 1 ตัวตามที่ได้อธิบายแล้ว   กรณีต้องการตัดกระแสสูงมากจะใช้ฟิวส์ทำหน้าที่ตัดกระแสโดยเฉพาะเนื่องจากปลอดภัยกว่า  และใช้   NTC เพื่อลดกระแสพุ่งโดยเฉพาะเนื่องจาก NTC มีค่าความต้านทานลดลงตามอุณภูมิ  .... สรุป ฟิวส์และ R Fuse  มีกราฟการทำงานที่แตกต่างกัน  การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การออกแบบวงจรและระดับมาตรฐานความปลอดภัยที่ต้องการ 


ลักษณะ   อาร์ฟิวส์   ( R  Fuse )

ลักษณะภายนอกจะแตกต่างจากตัวต้านทานชนิดคาร์บอนฟิลม์และตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มชัดเจน  ค่าที่นิยมใช้จะมีค่าความต้านทานไม่สูงคือใช้ค่าระดับโอห์ม วัสดุที่ใช้ผลิตอาร์ฟิวส์อ้างตามโรงงานบอกว่ามี 2  แบบคือแบบ Metal Film  และ  แบบ Wirewound  โดยแบบ  Metal Film ใช้ในกรณีวงจรวัตต์ต่ำ และแบบ Wirewound ใช้ในกรณีวงจรวัตต์ที่สูงกว่า    จากการสำรวจข้อมูลพบว่าอาร์ฟิวส์มีทั้งแบบใช้แถบสีและแบบใช้ตัวเลขในการระบุค่าความต้านทาน

R  Fuse  อาร์ฟิวส์   Fusible resistor
                          

R  Fuse  อาร์ฟิวส์
                                  รูป  อาร์ฟิวส์  แบบ Metal Film ใช้แถบสีในการระบุค่าความต้านทาน


                                รูป  อาร์ฟิวส์  แบบไวร์วาวด์  ใช้ตัวเลขและตัวอักษรในการระบุค่าความต้านทาน


ข้อสังเกต   ลักษณะภายนอกของอาร์ฟิวส์จะแตกต่างจากตัวต้านทานชนิดคาร์บอนฟิลม์และตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มชัดเจน บางครั้งก็แยกไม่ออกจากตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์เนื่องจากตัวต้านทานไวร์วาวด์ที่มีคุณสมบัติเป็น  R Fuse ก็มี  คุณสมบัติเป็นฟิวส์หรือ Fusible ใช้มัลติมิเตอร์วัดไม่ได้ ต้องใช้การสังเกตลักษณะภายนอกและเช็คกับ Datasheet ของตัวต้านทาน  อาร์ฟิวส์มีหลายแบบ เพื่อจะได้รู้จัก R Fuse แบบต่างๆไว้  สำรวจดูรูปอาร์ฟิวส์เพิ่มให้พิมพ์คำค้นใน  Google ว่า  Fusible  Resistor  จะแสดงรูปจำนวนมากจากโรงงานผลิตและสามารถใช้เปรียบเทียบว่าตัวต้านทานที่มีอยู่เป็นอาร์ฟิวส์หรือไม่


เทอร์โมฟิวส์พัดลม เทอร์โมฟิวส์หม้อหุงข้าว เทอร์โมฟิวส์กระติกน้ำร้อน วัด Thermal fuse ด้วยมัลติมิเตอร์

 https://www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com/2020/11/thermal-fuse.html

Thermal  fuse



เลือกหัวข้อ    เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วัดไดโอดรั่ว และ วัดทรานซิสเตอร์รั่ว ใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็ม

ความสามารถหลักของมัลติมิเตอร์แบบเข็มที่เหนือกว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลคือมัลติมิเตอร์แบบเข็มสามารถจ่ายกระแสที่สายวัดเพื่อทดสอบอุปกรณ์ดีเสียได้มากกว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล   การขึ้นและไม่ขึ้นของเข็ม การเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆเพิ่มหรือค่อยๆลดสังเกตได้ง่ายในการปรับจูนค่าทางไฟฟ้า    ในการวัดคุณภาพและสภาพการนำกระแสของไดโอดใช้สเกล LI  ซึ่งแสดงกระแสที่ผ่านจุดวัดเมื่อใช้ย่านวัด R  ถ้าวัดไดโอดก็หมายถึงกระแสที่ผ่านไดโอด ถ้าใช้วัด LED หมายถึงกระแสที่ LED ใช้  สังเกตทีรูปสเกล  LI  มีค่า   0-15  การอ่านค่าต้องดูว่าเราใช้ย่านวัด R เรนท์ไหน   เช่น

ใช้ย่านวัด  R x1      มีค่าเต็มสเกล 150mA    แต่ละขีดมีค่า 10mA

ใช้ย่านวัด  R x10    มีค่าเต็มสเกล 15mA     แต่ละขีดมีค่า 1mA

ใช้ย่านวัด  R x100   มีค่าเต็มสเกล 1.5mA   แต่ละขีดมีค่า 0.1mA

ใช้ย่านวัด  R x1K   มีค่าเต็มสเกล 150uA    แต่ละขีดมีค่า 10uA


                                           สเกล LI แสดงกระแสที่ผ่านจุดวัด หน่วย uA mA


      ย่านวัด R  และกระแสที่จ่าย Rx1 = 150mA ,  Rx10 = 15mA , Rx00=1.5mA  Rx1K = 150uA


ขั้นตอนวัดไดโอดรั่ว

1. ปรับไปที่ย่านวัด R x 10  เนื่องจากย่านนี้อ่านค่าง่ายค่าเต็มสเกลคือ 15mA แต่ละขีดมีค่าเท่ากัน 1mA 

อาจปรับไปที่ย่านวัด  Rx100   ,  Rx1K ก็ได้เพื่อทดสอบที่ค่ากระแสต่ำลง

2. ปรับซีโรห์โอห์มก่อนวัด สำคัญมากเพื่อให้ผลการวัดถูกต้อง

3. ต่อแบบไบอัสตรงจากนั้นอ่านค่ากระแสจากสเกล LI  จะเป็นค่ากระแสฟอร์เวิร์ส IF 

และต่อแบบไบอัสกลับจากนั้นอ่านค่า จากสเกล LI  จะเป็นค่ากระแสรีเวิร์ส Ir

4. พิจารณาผลการวัด ถ้าดี ต้องได้ค่าใกล้เคียงตามสเปคใน Datasheet 

                          Diode เบอร์   FR207 มีค่า Ir 5uA -100uA ค่า Max  ตาม Datasheet


วัดไดโอด   ໄດໂອດ    ການວັດ   DIODE test
                     ต่อไบอัสตรงให้ไดโอด อ่านค่า IF ได้ประมาณ 12mA เมื่อใช้กระแสทดสอบ 15mA


                    ต่อไบอัสกลับให้ไดโอดได้ค่า Ir วัดไม่ขึ้นเพราะกระแสค่าน้อยมากๆ
                    ตามสเปคระบุไดโอดเบอร์นี้มีค่า  Ir  5uA -100uA ค่า Max วัดได้ไม่เกินสเปคคือไดโอดดี
                    อาจทดสอบเพิ่มโดยใช้ย่านวัด  R x100 และ  Rx1K



วัดทรานซิสเตอร์รั่ว ใช้สเกล I CEO

ให้ดูที่สเกลของมิเตอร์จะมีสเกล I CEO อยู่เส้นเดียวกับสเกล LI เพียงแต่อยู่คนละด้าน วิธีการอ่านก็เหมือนกับการอ่านค่าสเกล LI ที่กล่าวถึงแล้วด้านบน ทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กและขนาดกลางใช้ Rx10 ( 15mA ) ในการทดสอบ ส่วนทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ ( Power Transistor ) ใช้   Rx1 ( 150mA)    I CEO คือค่ากระแสรั่วระหว่างขา C และขา E โดยไม่มีกระแสเบส ( Open Base ) ใช้ทดสอบรอยต่อของทรานซิสเตอร์ว่ายังมีสภาพปกติหรือไม่


                                                                  สเกล   ICEO  และ  LI  
สเกล  ICEO  ใช้วัดทรานซิสเตอร์   สเกล   LI ให้วัดอุปกรณ์พวกไดโอด   LED 

            ขาทรานซิสเตอร์เบอร์  TIP35C  ชนิด NPN  มีกระแส  Iceo  1mA ค่า Max  ตาม Datasheet


ขั้นตอนการวัดทรานซิสเตอร์รั่ว ใช้สเกล I CEO

1. เลือกย่านวัดที่เหมาะสม  ทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กและขนาดกลางใช้ Rx10 ( 15mA ) ในการทดสอบ ส่วนทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ ( Power Transistor ) ใช้   Rx1 ( 150mA)  ในการวัดสาธิตเป็นกาวัดทรานซิสเตอร์เบอร์ TIP35C  NPN ซึ่งเป็นทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่จึงใช้ Rx1

2. ปรับซีโรโอห์มก่อนวัด เพื่อให้ผลการวัดถูกต้อง

3. ต่อสายวัดโดยถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN  สายสีดำต่อขา C และสายสีแดงต่อขา E    ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด PNP   สายสีดำต่อขา E  และสายสีแดงต่อขา C

   

วัดทรานซิสเตอร์    transistor  test
                 ทดสอบกระแสรั่ว Iceo  ของ  Power Transistor  เบอร์  TIP35C  ชนิด NPN


4. พิจารณาผลการวัด  ทรานซิสเตอร์ชนิดซิลิกอนมีค่า  Iceo ต่ำมากวัดแล้วเข็มจะไม่ขึ้นเลยมิเตอร์วัดไม่ได้เพราะค่าน้อยมาก   ส่วนทรานซิสเตอร์ชนิดเจเมเนียมมีกระแสรั่วเล็กน้อยประมาณ 0.1-5mA  สำหรับทรานซิสเตอร์เจเมเนียมขนาดเล็กขนาดกลาง  ( Power Transistor  1mA -5mA )

สำหรับทรานซิสเตอร์ที่วัดแล้วได้ค่า Iceo เกินสเปคคือรั่วระหว่างขา C และขา E  หรืออาจวัดแบบสุ่มแล้วเข็มขึ้นมากได้ค่า Iceo สูงคือทรานซิสเตอร์รั่ว การวัดนี้เป็นการวัดเพื่อเช็คสภาพอุปกรณ์ดีเสียเบื้องต้นโดยใช้มัลติมิเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องวัดมาตรฐานสำหรับงานซ่อมทั่วไป


เลือกเรื่อง    อ่านต่อ  
เช่น  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี  17 ตอน

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธีวัดไอซี IC 8 ขา 10 ขา 14 ขา 16 ขา 20 ขา ด้วยมัลติมิเตอร์ ( ການວັດ IC )

ไอซี คือ วงจรรวม   (  IC :  integrated circuit ) หมายถึงข้างในมีอุปกรณ์หลายตัวต่อกันเป็นวงจรเพื่อทำหน้าที่ตามที่ออกแบบไว้ หุ้มปิดเป็นแพคเกจต่างๆ มีขาออกมาสำหรับต่อใช้งาน ขาของไอซีมีทั้งแบบลงปริ้น และแบบ SMD บัดกรีบนผิวลายทองแดง  IC  มีหลายเบอร์และหลายหน้าที่ จำนวนขาจะมีตั้งแต่  3 ขา 8 ขา 10 ขา 14 ขา 16 ขา 20 ขา และมากกว่านี้  ในบรรดาขาของไอซีนั้นจะมีขา VCC และขา Ground  ในการวัดไอซีดีเสียจะวัดขา ขา VCC และขา Ground  นี้จากหลักที่ว่าถ้าวงจรดีจะมีความต้านระดับหนึ่ง ถ้าวัดแล้วขึ้น 0 Ohm คือซ๊อตถ้าวัดแล้วไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลยสักครั้งคือเสียลักษณะขาด


วิธีวัดไอซี  ICs chip test and check
             ขา 1 ของ IC เริ่มนับตรงจุดและมี  Mark ตรงขอบ หาขา VCC และ G์ND จาก Datasheet


ขั้นตอนวัดไอซี IC  8 ขา 10 ขา 14 ขา 16 ขา 20 ขา ด้วยมัลติมิเตอร์

1. หาขา VCC และ G์ND จาก Datasheet ของไอซีเบอร์ที่จะวัด

2. ใช้ย่านวัด  R x 100 ในการวัดเนื่องจากมีกระแสจ่ายออกมาจากสายวัด 3VDC 1.5mA  กระแส 1.5mA ไม่มากเกินไปสำหรับใช้ทดสอบ IC ทั่วไป

3 ปรับซีโอห์มก่อนวัดเพื่อให้ผลการวัดถูกต้อง

4. ให้วัดขา VCC และ GND  และสลับสายวัดแล้ววัดอีกครั้ง

5. พิจารณาผลการวัด ถ้า IC ดีจะขึ้นค่าความต้านทานต่ำ  ( เข็มขึ้นมาก 1 ครั้ง ) และขึ้นค่าความต้านสูงกว่า ( เข็มขึ้นน้อย 1 ครั้ง บางเบอร์เข็มไม่ขึ้น ) 

IC เสีย : ซ๊อต ขึ้นสเกลทั้ง 2 ครั้ง  ,  ขาด เข็มไม่ขึ้นเลย  , รั่ว เข็มขึ้นน้อยๆขึ้นเท่ากันทั้ง 2 ครั้ง

6. ให้วัดเฉพาะขา VCC และขา GND เท่านั้นเนื่องจากกระแสและแรงดันจากสายวัดมิเตอร์ อาจไปทำลาย IC ได้เนื่องจาก IC บางเบอร์บางขาไม่สามารถทนกระแสและแรงดันจากสายวัดมิเตอร์ได้  ขณะที่ขา VCC และขา GND ใช้ต่อไปเลี้ยงโดยตรงกระแสทดสอบน้อยระดับ 1.5mA จึงไม่มีปัญหากับ 2 ขานี้

7.  IC บางเบอร์มีชุดไฟเลี้ยงมากกว่า 1 ชุด เช่น VCC1  GND1 , VCC2 GND2 ก็วัดให้ครบทุกชุด ต้องดีทุกชุดจึงจะเป็น IC ดี

8. การวัดดีเสียแบบนี้เป็นการวัดเบื้องต้นเท่านั้น การวัดที่มากกว่านี้ให้วัดตอน IC ทำงานและต้องเข้าใจการทำงานของ IC เบอร์นั้นๆด้วย รวมทั้งเครื่องมือวัดที่ใช้จะซับซ้อนกว่าเช่นใช้ออสซิลโลสโคป เป็นต้น

ICs chip test and check
                                            IC  ดี   เข็มขึ้นมาก 1 ครั้ง   ( ได้ค่าความต้านทานต่ำ  )


ICs  chip  test    check  IC  chip
                                   IC  ดี   เข็มขึ้นน้อยกว่า  1 ครั้ง   ( ได้ค่าความต้านทานมากกว่า  )
                                   บางเบอร์เข็มไม่ขึ้น  

   

30   เรื่อง    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ( เป็น ภาษาอังกฤษ)   > อ่านที่เว็บนี้



เลือกหัวข้อ    เพื่อ  อ่านต่อในเว็บนี้    
เช่น    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วัดทรานซิสเตอร์ NPN PNP ด้วย มัลติมิเตอร์ดิจิตอล การหาขาทรานซิสเตอร์ ( ການວັດ Transistor )

วัดทรานซิสเตอร์ดีเสียง่ายๆด้วยมองการวัดทรานซิสเตอร์ให้เป็นการวัดไดโอด 2 ตัว  ทรานซิสเตอร์มีชิ้นสาร P สาร N รวมทั้งหมด 3 ชิ้นส่วนไดโอดมีสาร P สาร N ทั้งหมด 2 ชิ้น  สังเกตตรงรอยต่อ PN ทรานซิสเตอร์จะมีรอยต่อ PN  2 รอยต่อ   1 รอยต่อ PN ก็มองเป็นไดโอด 1 ตัว   2 รอยต่อ PN ก็มองเป็นไดโอด 2 ตัวและไดโอด 2 ตัวนี้ต่อคอมมอนกันอยู่    ปกติแล้วการวัดทรานซิสเตอร์ต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานและวัดตามขั้นตอนเพื่อให้วัดได้ครบทุกขา  แต่สำหรับคนที่ชำนาญแล้วจะมุ่งวัดทรานดีเสียโดยไม่จำเป็นต้องรู้ตำเหน่งขาของทรานซิสเตอร์เลย   ทรานซิสเตอร์ส่วนใหญ่จะเสียลักษณะขาด จะสุ่มวัดไปเลยถ้าวัดขึ้น OL ทุกครั้งคือทรานซิสเตอร์ขาด และ ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V  ( เมื่อใช้ย่านวัดไดโอด Diode Test ) หรือขึ้นค่าความต้านทานต่ำมากๆ  0 Ohm เมื่อใช้ย่านวัดโอห์มวัด


ช่วงแรกเป็นการวัดทรานซิสเตอร์ดีเสียและช่วงสุดท้ายแสดงการการหาขาทรานซิสเตอร์ แนะนำให้อ่านทั้งหมดตามลำดับเพราะ 2 เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกัน


test  Transistor  NPN

                     ทรานซิสเตอร์ NPN มองเป็น ไดโอด 2 ตัวต่อแบบคอมมอนแอโนด



test  Transistor  PNP

                              ทรานซิสเตอร์ PNP มองเป็น ไดโอด 2 ตัวต่อแบบคอมมอนแคโทด


ทรานซิสเตอร์ที่ใช้วัดสาธิตคือเบอร์ 2N3904 มีตำเหน่งขา  E  B  C เรียงลำดับ 1-2-3 ตามรูป ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อื่นๆอาจมีตำเหน่งขาที่แตกต่างจากนี้ ให้นำเบอร์ของทรานซิสเตอร์ค้นหาตำเหน่งขาจาก Datasheet 

Transistor test
                     ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์   2N3904   มีตำเหน่งขาเรียง  E   B   C  


วัดทรานซิสเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

1. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลไปที่ย่านวัดไดโอด ( Diode Test ) 

2. ค้นหาตำเหน่งขาของทรานซิสเตอร์ที่จะวัด ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์   2N3904   มีตำเหน่งขาเรียง  E   B   C  ตามรูปทรานซิสเตอร์จริงๆ ด้านบน

วัดทรานซิสเตอร์    test  Transistor


test   transistor  with   multimeter
                                              วัดขา  B กับขา E  วัดได้แรงดันตกคร่อง 0.649V


วัดทรานซิสเตอร์  Transistor test
                                                    วัดขา  B  กับขา  C   วัดได้แรงดันตกคร่อง 0.628V


                                                สลับสายวัดขา  B กับขา E  แสดงค่า OL



วัดทรานซิสเตอร์  ການວັດ  Transistor  Test
                                           สลับสายวัด  B  กับขา  C    แสดงค่า OL

3.   พิจารณาผลการวัด    ขา B กับขา E และวัดขา B  กับขา C   ใช้หลักการเดียวกัน  ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า 0.6-0.7V   1 ครั้ง  และแสดงค่า OL   1 ครั้ง   ถ้าทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะขาด จะวัดขึ้น OL ทุกครั้ง และ ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V  ทุกครั้ง

4. วัดขา E  และขา C  และสสับสายวัดอีกครั้งถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า OL ทุกครั้ง ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V  ทุกครั้ง

5. ทรานซิสเตอร์ที่ดี ผลการวัดขา B-C  วัดขา B-E และวัดขา C-E  ผลการวัดต้องดีหมด


                                          วัดขา E  และขา C   ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า OL ทุกครั้ง

Transistor test
                         สสับสายวัด วัดขา E  และขา C   ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า OL ทุกครั้ง


การหาขาทรานซิสเตอร์ ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

ให้สุ่มวัดถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ NPN สายวัดสีแดงจะเป็นขา B ตามรูปด้านล่างนี้  

การวัดครั้งที่ได้ค่าแรงดันตกคร่อมมากกว่าจะเป็นขา E เช่นวัดได้ 0.649V

ส่วนครั้งที่วัดแรงดันตกคร่อมได้น้อยกว่าจะเป็นขา C  เช่นวัดได้ 0.628V

ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์   2N3904 ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อื่นจะได้แรงดันแตกต่างจากนี้

แต่หลักการยังเหมือนเดิมคือวัดขา B-E ได้แรงดันตกคร่อมมากกว่าแรงดันตกคร่อมขา B-C ที่เป็นเช่นนี้เพราะรอยต่อ PN ระหว่างขา B-E ได้รับการโด๊ปมากกว่า


             ทรานซิสเตอร์  NPN  สายวัดสีแดง เป็น ขา B แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C


Transistor test
              วัดทรานซิสเตอร์   NPN เบอร์   2N3904   สายวัดสีแดง เป็น ขา B  สายวัดสีดำเป็นขา E
              ข้อที่ต้องจำ แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C



ການວັດ  Transistor   test
              วัดทรานซิสเตอร์   NPN เบอร์   2N3904   สายวัดสีแดง เป็น ขา B  สายวัดสีดำเป็นขา C
              ข้อที่ต้องจำ แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C





             ทรานซิสเตอร์  PNP   สายวัดสีดำ เป็น ขา B แรงดันตกคร่อมขา B-E มากกว่าขา B-C เช่นกัน



เลือกหัวข้อ     เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือถือ หรือ  เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง

วัดไดโอด ใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล และ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ( ການວັດ DIODE )

 จะสาธิตและอธิบายการวัดไดโอดโดยใช้ทั้ง มิเตอร์ดิจิตอล  และ มัลติมิเตอร์แบบเข็มเพราะหลายคนมีมัลติมิเตอร์แบบเข็ม  ตอนเรียนอิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มเรียนพื้นฐานโดยใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดอุปกรณ์ดีเสีย  สำหรับคนที่ขยับขึ้นมาใช้มิเตอร์ดิจิตอลก็ดีเช่นกันเพราะใช้งานง่ายกว่า มีฟังก์ชั่นและย่านวัดเยอะกว่า การใช้มัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบวัดอุปกรณ์ต้องเข้าใจและใช้หลักการพื้นฐานเหมือนกัน   มิเตอร์ดิจิตอลมีหลายระดับราคา ราคาที่ต่างกันหมายถึง % ระดับความเที่ยงตรงและความถูกต้องของค่าที่วัดแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังแยกย่อยประเภทออกเป็น นำไปใช้งานวัดงานซ่อมทั่วไป   นำไปใช้งานวัดงานซ่อมอุตสาหกรรม  นำไปใช้งานซ่อมงานวัดระดับห้อง LAB   เป็นต้น การเลือกซื้อก็ต้องพิจารณดูเช่นกันเพราะบางยี่ห้อเขียนสเปคดีเกินจริงซึ่งราคาถูกขนาดนี้มันไม่น่าจะมีความสามารถตามที่กล่าวอ้างขนาดนั้นเรียกประเด็นประมาณนี้ว่าความน่าเชื่อถือของยี่ห้อ 


วัดไดโอด  ใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล   ໄດໂອດ   Diode test

Diode   ไดโอด
    ไดโอดสีดำเบอร์   FR207      Diode Rectifier  Fast recovery 
     ไดโอดตัวเล็ก เบอร์   1N4148   Diode Small  Signal 100V  200mA


วิธีวัดไดโอด  ใช้มิเตอร์ดิจิตอล
จะสาธิตโดยใช้ มิเตอร์ดิจิตอล  2 รุ่นเนื่องจาก 2 รุ่นนี้แสดงผลการวัดที่แตกต่างกันในบางประการ  ใช้หลักการวัดเหมือนกัน  คือมิเตอร์ดิจิตอลจะปล่อยแรงดันจากสายวัดแล้ววัดค่าแรงดันที่ตกคร่องไดโอดว่ามีปกติหรือไม่หรือ  ? 
1. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่  Diode Test
2. วัดและสลับสายวัด แล้วพิจารณาที่จอแสดงผล
ไดโอดดี
-จะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.3-0.8V  ขึ้นอยู่กับเบอร์ของไดโอด
-แสดง OL   1 ครั้ง
ไดโอดเสีย
- ซ๊อตแสดง  0.000V  ทั้ง 2 ครั้ง  มิเตอร์บางรุ่นแสดงเลข 000
- ขาดจะแสดง OL ทั้ง 2 ครั้ง มิเตอร์บางรุ่นแสดงเลข 1 แทน


ต่อปนี้คือรูปแสดง ไดโอดดีเมื่อวัดจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.3-0.8V  ขึ้นอยู่กับเบอร์ของไดโอดและแสดง OL   1 ครั้ง

test   diode   with   multimeter

test   Diode  check  diode

Diode test   мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng

Diode test  мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng

ໄດໂອດ    ການວັດ   DIODE   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

Diode test  мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng



มัลติมิเตอร์ดิจิตอลสีเหลืองนี้จะแสดงผลการวัดไดโอดแตกต่างจากมัลติมิเตอร์รุ่นด้านบน  มัลติมิเตอร์ดิจิตอลสีเหลืองนี้ชื่อรุ่น DT-830B ของ Sunwa  ตามคู่มือบอกว่าเมื่อใช้ย่านวัดไดโอดที่สายวัดจะมีแรงดัน จ่ายออกมา  2.8V และกระแส 1mA เพื่อไบอัสไดโอด  ตัวเลขที่หน้าจอมีหน่วยเป็น mV  ดูรูปด้านล่างประกอบ  ถ้าไดโอดดีจะแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.3-0.8V 1 ครั้ง  แรงดันขึ้นอยู่กับเบอร์ของไดโอดและแสดงเลข 1    1  ครั้ง
ไดโอดเสีย
- ซ๊อตแสดง แสดงเลข  000 (หรือ001)   ทั้ง 2 ครั้ง   
- ขาดจะแสดงเลข 1  ทั้ง 2 ครั้ง  

test   diode   with   multimeter
                                                494    = 494mV    หรือ  0.494V  

test   diode   with   multimeter



วิธีวัดไดโอด ใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
หลักการที่ต้องรู้เมื่อใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดไดโอด จะใช้ย่านวัด Rx 1 ในการวัดไดโอด ที่ย่านวัดนี้จะจ่ายแรงดันออกมา 3VDC  150mA  เพื่อไบอัสไดโอดเมื่อไบอัสตรงเข็มจะขึ้นและมีกระแสไหล่ผ่านไดโอดและไบอัสกลับเข็มไม่ขึ้น  ให้ดูรูปด้านล่างประกอบ
1. ปรับมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านวัด Rx1  ปรับซีโรโอห์มเพื่อให้ผลการวัดถูกต้องและเช็คมิเตอร์พร้อมใช้งาน
2. ให้วัด 1 ครั้งจากนั้นสลับสายวัดเพื่อวัดครั้ง 2
3. พิจารณาผลการวัดดังนี้

ไดโอดดี 
- เข็มขึ้น 1 ครั้ง
-เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง
ไดโอดเสีย
-ขาด เข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง
-ซ๊อต เข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง

test   diode   with   multimeter
                                                        รูปแสดง    ไดโอดดี  เข็มขึ้น 1 ครั้ง


test   diode   with   multimeter
                                                    รูปแสดง    ไดโอดดี  เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง

Diode test
                                       รูปแสดง    ไดโอดเสีย  เข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้งเลย คือซ๊อต

Diode test
                             รูปแสดง    ไดโอดเสีย  เข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง  2 ครั้ง  คือขาด



เลือกเรื่อง  เพื่ออ่านต่อ  
เช่น  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี  17 ตอน