สัญลักษณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าพื้นฐาน สัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์

สัญลักษณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้สำหรับออกแบบวงจร  สามารถวาดสัญลักษณ์ด้วยลายมือหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบวงจร   สัญลักษณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญมากเนื่องจากใช้อธิบายการทำงานของวงจรต่างๆและบอกว่าในวงจรมีอุปกรณ์อะไรบ้าง  อุปกรณ์แต่ละตัวต่อกันอย่างไร  การใช้สัญลักษณ์แทนตัวอุปกรณ์จริงๆทำให้ง่ายและสะดวกในการวาด นอกจากนี้สัญลักษณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นสากลและมีมาตรฐานจึงสามารถใช้สื่อสารกับวิศวกร ช่าง  และผู้ที่เกียวข้องระหว่างประเทศได้    สัญลักษณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้ามีจำนวนมากมีทั้งอุปกรณ์ที่ใช้บ่อยๆจำเป็นต้องทราบและมีความสำคัญอันดับต้นๆเรียกว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน   ส่วนสัญลักษณ์ของอุปกรณ์บางตัวที่นานๆจะได้ใช้ให้ดูผ่านๆก็ได้และเมื่อจำเป็นต้องใช้มันก็สามารถค้นหาเพิ่มได้ในอินเตอร์เน็ต


1.  สัญลักษณ์ตัวต้านทาน   มีตัวต้านทานค่าคงที่  ตัวต้านทานปรับค่าได้  โพเทนชิโอมิเตอร์  ทริมเมอร์

Resistor symbol   สัญลักษณ์ตัวต้านทาน  สัญลักษณ์ตัวต้านทานปรับค่าได้  ຕົວຕ້ານທານ

Resistor symbol   สัญลักษณ์ตัวต้านทาน  สัญลักษณ์ตัวต้านทานปรับค่าได้


2. สัญลักษณตัวเก็บประจุ    ตัวเก็บประจุชนิดไม่มีขั้ว   ตัวเก็บประจุชนิดมีขั้ว   ตัวเก็บประจุปรับค่าได้ 

capacitor symbol    สัญลักษณ์ตัวเก็บประจุ  ຕົວເກັບປະຈຸໄຟຟ້າ

3.   ตัวเหนี่ยวนำ    ตัวเหนี่ยวนำแกนเฟอร์ไรต์     ตัวเหนี่ยวนำแกนเหล็ก

Inductor symbol    สัญลักษณ์ตัวเหนี่ยวนํา


3.  ตัวนำไฟฟ้า   ตัวนำไฟฟ้าต่อถึงกัน   ตัวนำไฟฟ้าไม่ต่อถึงกัน   กราวด์   และ  กราวด์แท่น

ตัวนำไฟฟ้า   ตัวนำไฟฟ้าต่อถึงกัน   ตัวนำไฟฟ้าไม่ต่อถึงกัน

ground symbol   สัญลักษณ์กราวด์
รูปแรกเป็น   Earth Ground  Symbol    รูปที่ 2 เป็นกราวด์แท่น  ( Chassis or  Frame  Connection )

4.   สัญลักษณ์ไดโอดแบบต่างๆ     สัญลักษณ์ไดโอด     ซีเนอร์ไดโอด    สัญลักษณ์ไดโอดเปล่งแสง

Diode symbol   สัญลักษณ์ไดโอด   สัญลักษณ์ไดโอดทั้งหมด  ໄດໂອດ

5.    สัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์  ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN  และ  PNP

Transistor  Symbol  สัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์

6.   สัญลักษณ์มอสเฟต       E-MOSFET    D-MOSFE     JFET  

E-MOSFET    D-MOSFE     JFET   Symbol สัญลักษณ์มอสเฟต

E-MOSFET    D-MOSFE     JFET   Symbol สัญลักษณ์มอสเฟต

E-MOSFET    D-MOSFE     JFET   Symbol สัญลักษณ์มอสเฟต

7.  สัญลักษณ์   SCR  ไตรแอค  และ ไดแอค  

สัญลักษณ์   SCR  ไตรแอค  และ ไดแอค

8.  สัญลักษณ์ไอจีบีที   ( IGBT )

สัญลักษณ์ไอจีบีที     IGBT  Symbol

9.   สัญลักษณ์ฟิวส์  

สัญลักษณ์ฟิวส์    Fuse Symbol

10. สัญลักษณ์แบตเตอรี่   และ  สัญลักษณ์แหล่งจ่ายไฟ AC

สัญลักษณ์แบตเตอรี่    สัญลักษณ์แหล่งจ่ายไฟ AC  ແຮງດັນໄຟຟ້າ

11.  สัญลักษณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

สัญลักษณ์หม้อแปลงไฟฟ้า  Transformer symbol

12.    สัญลักษณ์รีเลย์

Relay  symbol สัญลักษณ์รีเลย์

13.  สัญลักษณ์สวิตช์

Swith  symbol   สัญลักษณ์สวิตช์


14.    สัญลักษณ์หลอดไฟ      หลอดไฟสัญญาณ   หลอดนีออน    หลอดฟลูออเรสเซนต์     หลอดอินแคนเดสเซนต์  

Lamp sybmol สัญลักษณ์หลอดไฟ      หลอดไฟสัญญาณ    หลอดฟลูออเรสเซนต์     หลอดอินแคนเดสเซนต์  ຫລອດໄຟ

15.  สัญลักษณ์ลำโพง   กระดิ่งไฟฟ้า     ไซเรน    บัซเซอร์   ลำโพง    ลำโพงฮอร์น  

สัญลักษณ์ลำโพง   กระดิ่งไฟฟ้า     ไซเรน    บัซเซอร์

16.   สัญลักษณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า  และ มอเตอร์  

สัญลักษณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า    มอเตอร์


เลือกหัวข้อ   เพื่อ   อ่านต่อ      
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์    มี   17  ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือถือ หรือ  เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง

อาการเสียของเตารีด เตารีดไม่ร้อน เตารีดร้อนมากเกินไป เตารีดร้อนน้อย และ วงจรเตารีดไฟฟ้า

เตารีดไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับคนทำงาน นักศึกษาและนักเรียน  เมื่อใช้งานเตารีดไฟฟ้าไปหลายปีอุปกรณ์บางตัวในวงจรจะเสื่อมและเสียในที่สุด  อาการเสียของเตารีด  เช่น เตารีดไม่ร้อน  เตารีดร้อนมากเกินไป  เตารีดร้อนน้อย  เป็นต้น  มารู้จักวงจรของเตารีดและหลักการทำงานของมันเพื่อจะได้ไล่เช็คอาการเสียได้ถูกต้องและตรงจุดของปัญหา   จากรูปด้านล่าง ส่วนประกอบของเตารีด มีแผ่นขดลวดความร้อน  เทอร์โมสตัท(มีแผ่นไบเมทอล)    ปุ่มปรับระดับความร้อน   หลอดไฟสัญญาณ   


ທາດເຫຼັກ


วงจรเตารีด   เตารีด   ທາດເຫຼັກ

                                            วงจรเตารีด  ( วงจรพื้นฐานของเตารีดไฟฟ้า )


หลักการทำงานของเตารีด

เมื่อจ่ายไฟเข้าวงจรไฟจะผ่านหน้าสัมผัสคอนเทค  เข้าแผ่นขดลวดความร้อน หลอดไฟสัญญาณจะสว่าง เมื่อเตารีดร้อนถึงระดับที่ปรับไว้ แผ่นไบเมทอลของเทอร์โมสตัทจะโค้งและดันหน้าสัมผัสคอนเทคให้ตัดวงจรเมื่อวงจรตัดหลอดไฟสัญญาณจะดับ   เมื่อแผ่นความร้อนของเตารีดเย็นลงแผ่นไบเมทอลของเทอร์โมสตัทจะกลับมาปกติและต่อวงจรอีกครั้ง  การปรับระดับความร้อนคือการปรับตั้งระยะห่างของหน้าสัมผัสคอนเทค  ลักษณะของเตารีดทีทำงานปกติคือเมื่อปรับไปที่อุณหภูมิใดๆ ใช้มัลติมิเตอร์วัดที่สายไฟ AC หน้าสัมผัสคอนเทคจะต่อวงจรและมีค่าความต้านทานน้อยๆ   และเมื่อปรับไปที่ตำเหน่งปิด ( OFF ) หน้าสัมผัสคอนเทคจะตัดวงจรและมีค่าความต้านทานเป็นอินฟินิตี้

ซ่อมเตารีด  ທາດເຫຼັກ
               เมื่อปรับไปที่อุณหภูมิใดๆ  หน้าสัมผัสคอนเทคจะต่อวงจรและมีค่าความต้านทานน้อยๆ


ซ่อมเตารีด
         เมื่อปรับไปที่ตำเหน่งปิด ( OFF ) หน้าสัมผัสคอนเทคจะตัดวงจรและมีค่าความต้านทานเป็นอินฟินิตี้



อาการเสียของเตารีดที่พบบ่อย

1)  เตารีดไม่ร้อน  สาเหตุเนื่องจากไฟไม่เข้าให้ไล่เช็คจุดต่างๆต่อไปนี้ ดูวงจรเตารีดด้านบนประกอบ

 -  สายไฟ AC ขาดหรือไม่

-  จุดต่อต่างๆหลุดหรือไม่  

-  เช็คแผ่นขดลวดความร้อน ขาดหรือไม่

-  เช็ค เทอร์โมสตัท /  หน้าสัมผัสคอนเทค เสียหรือไม่

ซ่อมเตารีด
                                             เช็คจุดต่อต่างๆหลุดหรือไม่     สายไฟขาดหรือไม่  


2)  เตารีดร้อนมากเกินไป  สาเหตุที่เป็นไปได้

-   หน้าสัมผัสคอนเทคละลายติดกัน หรือไม่ 

-   การตัดต่อหน้าสัมผัสคอนเทคช้าเกินไป   ให้ปรับระยะหน้าสัมผัสคอนเทคใหม่

-  เช็คเทอร์โมสตัท เสียหรือไม่


3)   เตารีดร้อนน้อย   สาเหตุที่เป็นไปได้

-   การตัดต่อหน้าสัมผัสคอนเทคเร็วเกินไป   ให้ปรับระยะหน้าสัมผัสคอนเทคใหม่

-   หน้าสัมผัสคอนเทคมีสิ่งสกปรกและสิ่งกีดขวางกระแสไฟไหลไม่สะดวก ให้ทำความสะอาดหน้าสัมผัสคอนเทค



เลือกหัวข้อ      เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี    17   ตอน

วงจรพัดลมและอาการเสียของพัดลม ซ่อมพัดลมไม่หมุน พัดลมกดไม่ติด พัดลมไฟไม่เข้า หมุนช้า เสียงดัง

พัดลมตั้งโต๊ะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานมีใช้เกือบจะทุกบ้าน  เป็นธรรมดาของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานเมื่อใช้ไปหลายปีอุปกรณ์บางตัวในวงจรจะเริ่มเสื่อมสภาพจากนั้นอุปกรณ์จะเสียจนพัดลมใช้งานไม่ได้  อาการเสียของพัดลมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ  1)  เสียทางวงจรไฟฟ้า เช่น เทอร์โมฟิวส์ขาด สวิตช์เสีย   คาปาซิเตอร์ค่าความจุลด    ขดลวดขาด   เป็นต้น   2) เสียทางกลไก เช่น บูทสึก แกนสึก พัดลมไม่ส่าย เป็นต้น  อาการเสียบางอย่างสามารถซ่อมได้ง่ายใช้แค่มัลติมิเตอร์กับหัวแร้งบัดกรีก็ซ่อมได้  ส่วนอาการเสียหนักๆต้องประเมินอีกครั้งว่าจะซ่อมหรือจะซื้อพัดลมตัวใหม่ดี  ก่อนซ่อมหรือเช็คอาการเสียของพัดลม มารู้จักวงจรพัดลมแบบตั้งโต๊ะก่อนตามด้านล่างเพื่อจะใช้ไล่เช็ควงจรได้ถูกต้องและเป็นลำดับ  ส่วนพัดลมแบบอื่นๆ   เช่น พัดลมแบบตั้งพื้น  พัดลมติดเพดาน พัดลมติดผนัง  พัดลมดูดและระบายอากาศ  เป็นต้น    ก็มีวงจรพื้นฐานเหมือนกันหรือบางรุ่นก็คล้ายกันอาจแตกต่างกันในรายละเอียด สามารถประยุกต์ใช้วงจรพื้นฐานของพัดลมแบบตั้งโต๊ะนี้ไล่เช็คอาการเสียต่างๆได้ 

วงจรพัดลม  ສ້ອມແປງ  ພັດລົມ

                                       วงจรพื้นฐานของพัดลมไฟฟ้าแบบตั้งโต๊ะ


จากวงจรพัดลมตั้งโต๊ะด้านบนจะสังเกตว่าคาปาซิเตอร์ต่ออยู่ระหว่างขดลวดรันและขดลวดสต๊าต  ขดลวดช่วยตรงปุ่มกดเลือกความเร็วเบอร์ 1  2  3  ทำหน้าที่ปรับความเร็วของพัดลม  ถ้ากดเบอร์ 3  เหมือนกับต่อไฟเข้าขดลวดรันและขดลวดสต๊าทตรงๆ  กดเบอร์ 2 จะเป็นการต่อขดลวดเพิ่มเข้ามาระดับกลางซึ่งเป็นการต่อแบบอนุกรม  กดเบอร์ 1 เป็นการต่อขดลวดอนุกรมเข้ามาเต็มที่เลยทำให้ได้ค่าความต้านทานมากที่สุดผลคือได้ความเร็วรอบน้อยที่สุด ตัวอย่างการวัดขดลวดของพัดลมยี่ห้อหนึ่งได้ผลตามรูปด้านล่าง


เบอร์ 1   ได้ประมาณ    480  โอห์ม  ค่าความต้านทานมากที่สุด ได้ความเร็วน้อยที่สุด

เบอร์ 2   ได้ประมาณ    440  โอห์ม  

เบอร์ 3   ได้ประมาณ   340   โอห์ม  ค่าความต้านทานน้อยที่สุด  ได้ความเร็วสูงที่สุด

ซ่อมพัดลม   ສ້ອມແປງ  ພັດລົມ
                                                                       เบอร์ 1   ได้ประมาณ    480  โอห์ม

                                                                          เบอร์ 2   ได้ประมาณ    440  โอห์ม

                                                                       เบอร์ 3   ได้ประมาณ   340  โอห์ม



อาการเสียของพัดลม

1)  พัดลมไฟไม่เข้า  พัดลมไม่หมุน    พัดลมกดไม่ติด   สาเหตุที่เป็นไปได้ : 

-  ให้เช็คสายไฟ ปลั๊กไฟ จุดต่อตรงสวิตช์กด ขาดหรือหลุด  ?  

-  สวิตช์กดเสียหรือไม่  ให้ลองกดและวัดด้วยมัลติมิเตอร์ เมื่อกดแล้วสวิตช์ตัดต่อวงจรไฟฟ้าได้หรือไม่

-  ขดลวดข้างในขาด  ให้เช็คขดลวดรัน  ขดลวดสต๊าท ให้ใช้วงจรด้านบนเป็นแนวทางการวัดขดลวด

-  เทอร์โมฟิวส์ขาด

-  คาปาซิเตอร์ขาด ซ๊อต

2)  พัดลมหมุนช้า เหมือนไม่มีแรง  อาจมีเสียงดังอื่อๆด้วย  สาเหตุที่เป็นไปได้

- เกิดจากแกนและบู๊ท  ให้ถอดปลั๊กและลองหมุนใบพัดด้วยมือ ใบพัดยังหมุนคล่องไหม  ?  บู๊ทและแกนพัดลมอาจสึก  หรือน้ำมันหล่อลื่นบู๊ทแห้ง 

-  คาปาซิเตอร์   ค่าความจุลด(แห้ง )  , ขาด  , ช๊อต       ให้เปลี่ยนคาปาซิเตอร์   

3)  พัดลมไม่ส่าย  สาเหตุของปัญหาคือชุดเฟืองส่ายเสีย มันจะมีเสียงดังแก๊กๆ ให้เปลี่ยนชุดเฟืองส่าย อะไหล่มีขายเป็นชุดหรือแยกขายเป็นชิ้นๆ ให้ถามร้านขายอะไหล่ดูว่าเขามีอะไหล่ให้เปลี่ยนแบบไหน

  


เลือกหัวข้อ     เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์    มี    17   ตอน

รวมเรื่องการบัดกรี ฟลักซ์คืออะไร ส่วนต่างๆของแผ่น PCB ลักษณะการบัดกรีที่ดี การบำรุงรักษาปลายหัวแร้ง ( ເອເລັກໂຕຣນິກ )

การบัดกรีคือการเชื่อมโลหะ 2 ชิ้นเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้การเชื่อมต่อทางกลที่แข็งแรงและเป็นเส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้าได้สะดวก    งานพื้นฐานของช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์คือการบัดกรี ตอนนี้จะอธิบายเรื่องที่สำคัญจำเป็นต้องทราบสำหรับงานบัดกรี    เริ่มด้วยส่วนต่างๆของแผ่น PCB หรือแผ่นปริ้น เนื่องจากต้องอ้างถึงตอนทำการบัดกรี  จากนั้นมารู้จักฟลักซ์คืออะไรก่อนทำการบัดกรี     สุดท้ายจะกล่าวถึง   การบำรุงรักษาปลายหัวแร้ง  

ฟลักซ์คืออะไร   ส่วนต่างๆของแผ่น PCB   ลักษณะการบัดกรีที่ดี    การบำรุงรักษาปลายหัวแร้ง




ส่วนต่างๆของแผ่นปริ้นที่จำเป็นต้องทราบก่อนบัดกรี

1. ลายทองแดง เป็นส่วนที่อยู่ข้างในสุดเป็นเส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้าและเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ




2. Solder Mask  คือชั้นที่เป็น สีน้ำเงิน  สีเขียว   มีสีแดงด้วย  Solder Mask   ทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้มปิดลายทองแดงที่อยู่ด้านในและป้องกันทองแดงไม่ให้โดนอากาศเนื่องจากถ้าทองแดงโดนอากาศจะเป็นออกไซด์กระแสไหลไม่สะดวก   นอกจากนี้สีของ Solder Mask ยังทำให้เราแยกแยะส่วนที่เป็นโลหะกับส่วนอื่นๆ เพื่อจะให้เห็นจุดที่ต้องบัดกรีงานได้ง่ายขึ้น    Mask  แปลตรงๆว่า หน้ากาก ช่วยป้องกันส่วนที่อยู่ด้านใน




3. Silk Screen คือ ตัวอักษร ข้อความต่างๆ เพื่อบอกชนิดของอุปกรณ์ ค่าของอุปกรณ์  ตำเหน่งขา ทิศทางการเสียบขาอุปกรณ์  Silk Screen นี้จะปริ้นอยู่บน  Solder Mask อีกที ประโยชน์หลักๆของ Silk Screen คือบอกข้อมูลของอุปกรณ์ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบวงจรใส่อุปกรณ์ได้ถูกต้อง
4.  แพด ( Pad ) คือส่วนที่เป็นโลหะซึ่งโผล่ออกมาสำหรับบัดกรีกับขาอุปกรณ์  ตามรูปด้านล่างที่วงกลมสีแดงไว้คือแพด


    



                                     แพด ( Pad ) คือบริเวณพื้นที่โลหะที่จะบัดกรีกับขาอุปกรณ์    




ฟลักซ์ (   FLUX ) คืออะไร   ?
ฟลักซ์เป็นสารเคมีชื่อเรียกภาษาไทยว่า " น้ำยาประสานช่วยบัดกรี"   จากการศึกษาข้อมูลจากผู้ผลิตตะกั่วบัดกรี สรุปได้ว่าฟลักมีประโยชน์หลายอย่าง  1). ช่วยทำความสะอาดพื้นผิวโลหะที่จะบัดกรี โดยการขจัดคราบออกไซด์ออกจากผิวโลหะ   2. ทำให้ตะกั่วไหลไปตามบริเวณที่จะบัดกรีซึ่งช่วยให้ตะกั่วเต็มพื้นที่แพดและบัดกรีได้ง่ายขึ้น   3. ทำให้ผิวโลหะที่จะบัดกรีเชื่อมกันได้ดีผลคือมีการนำกระแสไฟฟ้าที่ดีนั่นเอง  ยกตัวอย่างการเชื่อมสายไฟ 2 เส้นจะนิยมจุ่มฟลักตลับก่อนเพื่อให้บัดกรีได้ง่าย   เส้นตะกั่วที่นิยมใช้งานจะมีฟลักอยู่ด้านในของเส้นตะกั่วเลย ( ดูที่รูปด้านล่าง )   นอกจากนี้ฟลักยังมีขายแบบเป็นตลับสีแดง สีเหลือง สรุปฟลักเป็นตัวช่วยให้งานบัดกรีมีคุณภาพและบัดกรีง่าย

ตะกั่วบัดกรี
                                                        ตะกั่วบัดกรีแบบมีฟลัก จะระบุไว้ที่ฉลาก

ตะกั่วบัดกรี

ตะกั่วบัดกรี




เส้นตะกั่วแบบมีฟลักอยู่ด้านใน
                                                          เส้นตะกั่วบัดกรีแบบมีฟลักอยู่ข้างใน


                                       ฟลักตลับ  ฉลากบอกประโยชน์ไว้ว่า ช่วยผสานตะกั่ว



ลักษณะการบัดกรีที่ดี 
การบัดกรีคือการเชื่อมโลหะ 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน ทำอย่างไรจึงจะได้จุดบัดกรีที่ดี  ?  จุดประสงค์ของการบัดกรีคือได้การเชื่อมต่อทางกลที่แข็งแรงและโลหะ 2 ชิ้นที่เชื่อมกันมีการนำกระแสไฟฟ้าที่ดีด้วย
 
1. ทำความสะอาดชิ้นงานก่อนบัดกรี ถ้าเป็นสายไฟเก่าให้ตัดทิ้งตัวนำที่โดนอากาศนานๆจะบัดกรีไม่ค่อยติดให้ปอกสายใหม่และอาจจุ่มฟลัก  กรณีเป็นขาอุปกรณ์เก่าให้ใช้คัตเตอร์ขุดนิดหน่อยเพื่อเอาคราบหนักต่างๆออกก่อน   การทำความสะอาดชิ้นงานก่อนการบัดกรีช่วยให้การบัดกรีง่ายแล้วยังทำให้ได้จุดบัดกรีมีคุณภาพดีด้วย   การทำความสะอาดชิ้นงานหลังการบัดกรีช่วยกำจัดคราบที่เกิดจากการบัดกรีซึ่งคราบนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ฝุ่นและความชื้นจะมาเกาะทำให้อุปกรณ์ซ๊อตกันและวงจรทำงานผิดปกติได้โดยที่หาสาเหตุไม่เจอ    สุดท้ายหลังจากบัดกรีเรียบร้อยและทำความสะอาดคราบต่างๆแล้วให้เคลื่อบแผ่นปริ้นด้วยน้ำยาเคลือบแผ่นปริ้นเพื่อป้องกันลายทองแดง

2. ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้ง 2 ที่จะเชื่อมกัน หลังจากร้อนได้ที่ให้ป้อนตะกั่วใส่  สูตรการบัดกรีคือ หัวแร้งจะเข้าก่อนและออกที่หลัง  หัวแร้งเข้าก่อนเพื่อให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้ง 2 เมื่อร้อนได้ที่ก็ป้อนตะกั่วใส่   หลังจากตะกั่วละลายและได้ปริมาณที่พอดีกับพื้นที่แพดให้เอาตะกั่วออก หัวแรงจะออกเป็นชิ้นสุดท้ายจากจุดบัดกรี  ระยะเวลาทั้งหมดในการบัดกรีห้ามใช้เวลานานเนื่องจากลายทองและอุปกรณ์จะเสียได้ถ้าแช่หัวแรงไว้นานเกินไป     อุปกรณ์ขนาดเล็กใช้เวลาประมาณ  2-3 วินาทีและอุปกรณ์ขนาดใหญ่ให้ใช้เวลา 3-4 วินาที    ระยะเวลาที่แนะนำไว้นี้ให้ประเมินดูผลงานที่ได้ว่าได้จุดบัดกรีมีคุณภาพหรือไม่


                                                 ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานก่อน ( แพดและขาอุปกรณ์)


   สูตรการบัดกรีคือ หัวแร้งเข้าก่อนและออกที่หลัง  หัวแร้งเข้าก่อนเพื่อให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้ง 2  เมื่อร้อนได้ที่ให้ป้อนตะกั่วหลังจากตะกั่วละลายและได้ปริมาณที่พอดีกับพื้นที่แพดแล้ว  ให้เอาตะกั่วออก  สุดท้ายหัวแรงจะเป็นชิ้นสุดท้ายที่ออกจากจุดบัดกรี


3. จุดบัดกรีที่ดีตะกั่วจะเต็มพื้นที่แพดและเป็นรูปทรงกรวย ให้พื้นผิวมีความเงาวาว ลักษณะจุดบัดกรีที่ต้องปรับปรุงคือตะกั่วน้อยไปทำให้ความแข็งแรงทางกลน้อยกระแสไหลไม่สะดวก  อีกแบบคือใส่ตะกั่วมากเกินไปทำให้ขาอุปกรณ์มีโอกาสช๊อตกันได้อีกทั้งไม่สวยงามด้วย 


                       จุดบัดกรีที่ดีตะกั่วจะเต็มพื้นที่แพดและเป็นรูปทรงกรวย พร้อมมีพื้นผิวที่เงาวาว 


4. ปัญหาที่สำคัญของการบัดกรีคือปลายหัวแร้งไม่ร้อนและปลายหัวแร้งร้อนมากไป หัวแร้งไม่ร้อนให้ทำความสะอาดเอาคราบเขม่าต่างๆออกจากปลายหัวแร้งก่อนบัดกรีงานและชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วก่อนทำการบัดกรีทุกครั้ง  การเลือกขนาดปลายหัวแร้งให้เหมาะกับชิ้นงานก็สำคัญส่วนมากงานแผ่นปริ้นจะใช้หัวแร้งปลายทรงกรวยซึ่งเหมาะกับงานละเอียดมีขนาดเล็ก สำหรับงานบัดกรีอุปกรณ์ SMD จะนิยมใช้หัวแรงปลายแบน ปลายหัวแร้งแบบต่างๆมีขายเป็นชุด      ให้ค้นคำว่า "ปลายหัวแร้ง" จะมีปลายหัวแรงรูปแบบต่างๆให้ดู      สุดท้ายขนาดวัตต์ของหัวแร้งก็สำคัญงานบัดกรีแผ่นปริ้นใช้ขนาด 30-60 วัตต์ก็ให้ความร้อนที่มากพอ  ถ้าหัวแร้งวัตต์น้อยไปเมื่อบัดกรีตะกั่วจะละลายยากทำให้ได้งานบัดกรีที่ไม่มีคุณภาพ


 การบำรุงรักษาปลายหัวแร้งต้องทำอย่างไร    ?
จุุดประสงค์การบำรุงรักษาปลายหัวแร้งคือให้มันส่งผ่านความร้อนได้เต็มที่และมีอายุการใช้งานที่นานๆ ต้องเข้าใจที่มาว่าทำไมจึงให้ทำและทำไม่จึงห้ามทำ  โครงสร้างของปลายหัวแร้งส่วนด้านในจะเป็นทองแดงเพื่อรับความร้อนจากฮีตเตอร์และส่งผ่านความร้อนนี้ให้ชิ้นงานบัดกรี  ด้านนอกสุดของทองแดงถูกเคลือบไว้เพื่อป้องกันทองแดงจากออกไซด์    การบำรุงรักษาปลายหัวแร้งที่ผู้ผลิตแนะนำไว้ก็จะกล่าวถึงหลักการกว้างๆไว้เหมือนกันมีดังนี้

1.  ให้ทำความสะอาดปลายหัวแร้งก่อนใช้งานและหลังใช้งาน  ถ้าใช้งานเบา-ปานกลางให้ทำความสะอาดวัดละครั้งและถ้าให้งานหนักให้ทำความสะอาดทุกครั้ง
2. ให้ชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่ก่อนการบัดกรี    โดยให้ขจัดคราบเขม่าสีดำก่อนชุบตะกั่วใหม่  วิธีขจัดคราบเขม่าสีดำให้ถูปลายหัวแร้งที่ร้อนกับผ้าผิวหยาบชุบน้ำชุ่มหรือฝอยชุบน้ำ  ถ้าคราบเขม่าหนักมากให้ใช้ฝอยโลหะหรือกระดาษทรายชนิดละเอียดถูนิดๆเบาๆได้แต่ห้ามตะไบเพราะส่วนที่เคลือบหุ้มปลายหัวแร้งจากโรงงานจะหลุดออกทำให้ส่วนที่เป็นทองแดงโผล่ออกมาโดนอากาศและโดนฟลักทำให้มันสึกกร่อนเร็วขึ้น
3. ให้ชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่ก่อนเลิกงานทุกครั้ง  ก่อนชุบตะกั่วใหม่ให้ขจัดคราบเขม่าก่อน
4. ฝอยทองเหลืองมีสำหรับขจัดตะกั่วก้อนที่ติดปลายหัวแร้ง ให้ถูสไลเบาๆแบบเสียบเข้าไปในเส้นฝอย
5. ห้ามจุ่มปลายหัวแร้งกับของเหลวชนิดต่างๆ ซึ่งทำให้โครงสร้างของโลหะและคุณสมบัติมันเปลี่ยนไป
6. ห้ามกดที่ปลายหัวแรงมากเกินไป ให้กดพอตึงมือเท่านั้น ถ้าต้องการแกะชิ้นงานให้ใช้ไขควงแกะหรือคัตเตอร์ตัดงานจะตรงตามลักษณะการใช้งานของอุปกรณ์ ห้ามใช้ปลายหัวแร้งแกะชิ้นงาน
7. หัวแร้งบัดกรีให้ใช้เฉพาะงานบัดกรีเท่านั้นห้ามนำไปใช้ให้ความร้อนงานอื่นๆที่นอกเหนือจากการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
8. ห้ามเปิดหัวแร้งที่อุณภูมิสูงๆทิ้งไว้นานๆ จะทำให้อายุใช้งานของปลายหัวแร้งสั้นลง
9. เลือกปลายหัวแร้งให้เหมาะกับลักษณะงานที่จะบัดกรี ทำให้การบัดกรีง่ายและได้จุดบัดกรีที่มีคุณภาพสูง
10. ปฏิบัติตามหลักการทั่วไปและหลักการเฉพาะที่ระบุไว้ในคู่มือหัวแร้งนั้นๆ เพื่อให้การใช้งานหัวแร้งมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

น้ำยาทำความสะอาดแผ่นปริ้น
                                                              
                                                                 น้ำยาทำความสะอาดแผ่นปริ้น 



ประโยชน์ของน้ำยาทำความสะอาดแผ่นปริ้น   ช่วยให้บัดกรีง่าย  ใช้ทำความสะอาดก่อนบัดกรี  และใช้ทำความสะอาดหลังการบัดกรีเพื่อป้องกันสารเคมีและคราบต่างๆกัดกร่อนแผ่น PCB  นอกจากใช้ทำความสะอาดแผ่น PCB แล้วยังใช้ทำความสะอาดขาอุปกรณ์ด้วย




น้ํายาเคลือบแผ่นปริ้น  PF100
                                                                    น้ำยาเคลือบแผ่นปริ้น PF100

น้ํายาเคลือบแผ่นปริ้น PF100
                                                     ประโยชน์   น้ำยาเคลือบแผ่นปริ้น PF100


         ชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่ก่อนบัดกรีและหลังเลิกงานให้ทำความสะอาดขจัดคราบเขม่าแล้วชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่อีกเช่นกันเพื่อป้องกันออกไซต์เกาะที่ปลายหัวแร้ง




สอนใช้งาน Multi-function  Tester  TC1 เครื่องวัด  อุปกรณ์อิเล็กฯ
ดูที่นี้









เลือกหัวข้อ    เพื่อ    อ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน