การเรียนอาชีวะเป็นการเรี
วัดไดโอด วัดทรานซิสเตอร์ วัดไตรแอค วัดเอสซีอาร์ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ อื่น ๆ เช่น การใช้งาน Multi Function Tester TC1... เป็นต้น เว็ปไชต์เพื่อการศึกษาเรียนรู้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานเพื่องานซ่อม เป็นแนวทางการซ่อมวงจร โดยมี 29 หัวข้อให้อ่าน
เรียนอาชีวะดีไหม เรียนเทคนิคและสายอาชีพ สายช่างดีไหม และข้อมูลควรรู้ก่อนเรียน
เรียนช่างอะไรดี ระหว่างเรียนไฟฟ้ากำลังหรือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ดีไหม ตอนท้ายตอบคำถามการเรียนช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยากไหม
ตอบคำถามการเรียนช่างว่าจะเลือกเรียนไฟฟ้ากำลังหรือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ดี มีรูปและตารางประกอบช่วยให้เข้าใจง่าย อยู่ด้านล่าง ตอนท้ายสุดเป็นการตอบคำถามเรียนช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยากไหม ข้อมูลที่อยู่ใบบทความนี้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเอง ผ่านการสมัครงาน หางานและทำงานตามโรงงานมาก็หลายที่จนในที่สุดเมื่อหาประสบการณ์ในโลกกว้างเพียงพอแล้วปัจจุบันหันมาประกอบกิจการส่วนตัวเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน จึงนำประสบการณ์และข้อมูลมาแบ่งปัน ข้อดีของการเรียนช่างคือสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้มาทำงานตามบริษัทต่างๆ โรงงานอุตสากรรม ประกอบกิจการส่วนตัว รับงานพิเศษระหว่างเรียน ทำงาน DIY ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาในอนาคตเราก็สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม Up Skill ได้เนื่องจากมีทักษะช่างพื้นฐานเป็นฐานเดิมอยู่แล้ว สำหรับคนที่ต้องการเรียนต่อระดับสูงขึ้น ปัจจุบันก็มีมหาวิทยาลัยหลายที่เปิดสาขาให้เรียนต่อจนถึงระดับปริญญาตรี โท เอก การเรียนช่างเป็นการนำความรู้+ทักษะไปใช้งานจริงและประยุกต์หลักการทางฟิสิกส์ / วิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ถึงแม้เราจะไม่ได้ทำงานตามโรงงาน/บริษัทต่างๆแล้วก็ตามแต่ความรู้และทักษะช่างที่มีอยู่นั้นสามารถนำไปต่อยอดได้อีกเยอะยกตัวอย่างเช่น ทำระบบ Smart Home , Smart Farming ใช้อุปกรณ์ IT ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ดูแลระบบไฟฟ้าที่ผิดปกติให้บ้านตัวเอง ให้เพื่อนบ้าน ชุมชนและวัด เป็นต้น และในอนาคตใกล้ๆนี้จะมีเรื่องรถไฟฟ้าและสิ่งที่เกียวข้องมาแน่นอน พลังงานทดแทนแบบต่าง ๆ ( เช่น โซลาร์เซลล์ ) อุปกรณ์ IOT การสื่อสาร 5G 6G เราก็จะเข้าใจเทคโนโลยีเหล่านี้และอยู่ในแทรนด์นี้ได้ไม่ยาก
วิเคราะห์เรียนไฟฟ้ากำลังหรือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ดี ?
ไฟฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่สำคัญมากเราจะขาดไฟฟ้าไม่ได้เลย ระบบไฟฟ้าทีมีอยู่ปัจจุบันนี้ก็ต้องการช่างไฟฟ้าและวิศวกรไฟฟ้ามาดูแลให้มันใช้งานได้ปกติและปลอดภัยตามหลักการและมาตฐาน ถ้าจะออกแบบระบบไฟฟ้าใหม่
ต่อเติมไฟก็ต้องให้วิศกรไฟฟ้ามาออกแบบให้
ทุกโรงงาน
ทุกตึกขนาดใหญ่
ศูนย์การค้าต่างๆ
อาคารพาณิชย์และออฟฟิศ ล้วนต้องการช่างไฟฟ้ามาดูแลระบบไฟฟ้าให้ทั้งสิ้น ลักษณะงานของช่างไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบไฟฟ้าสำรอง ดูแลระบบแอร์ ตู้เย็น ตู้แช่สินค้าต่างๆ ลิฟท์ บันไดเลื่อน ระบบดับเพลิง ปั้มน้ำ ระบบความปลอดภัยในอาคาร ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องกลไฟฟ้าต่างๆ บางที่ช่างไฟฟ้าอาจต้องดูแลระบบประปาด้วย
ดูแลระบบไฟฟ้ากำลังทั้งภายนอกอาคารและภายในอาคาร เพิ่มจุดเต้ารับเต้าเสียบ ถ้าเป็นงานในโรงงานก็ดูแลระบบอัตโนมัติต่างๆที่ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนในไลน์การผลิต ดูแลระบบไฟในสายพานการผลิต โรงงานที่ทำเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ซอฟแวร์ ป้ายโฆษณา นอกจากนี้สาขาไฟฟ้ากำลังยังไปเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและงานโยธาอีกทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นปริมาณงานของสาขาไฟฟ้ากำลังจึงมีจำนวนงานมากโดยงานกระจายอยู่ทุกภาคอุตสาหกรรมทั้งโรงงาน
อาคารพาณิชย์ต่างๆ แม้กระทั้งตามบ้านเรือนทั่วไปต่างจังหวัดยังมีงานของไฟฟ้ากำลังให้ทำเยอะ เรียนสาขาไฟฟ้ากำลังหางานง่ายเนื่องจากปริมาณงานในตลาดที่เยอะและงานแทรกอยู่ทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
สาขาอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเรียนเกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาต่อใช้งานเป็นวงจรต่างๆ ขอบเขตของงานอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างจากสาขาไฟฟ้ากำลังคือ อิเล็กทรอนิกส์เน้นเรียนเกี่ยวกับระบบภาพ ระบบเสียง การขยายสัญญาณ การสื่อสาร การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมฮาร์ดแวร์ ไฟฟ้าพื้นฐานช่างอิเล็กทรอนิกส์ก็เรียนเหมือนกันกับช่างไฟฟ้ากำลังดังนั้นถ้าไฟฟ้าขัดข้องที่เป็นเรื่องไฟฟ้าพื้นฐานช่างอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถแก้ไขปัญหาทางไฟฟ้านี้ได้ ถ้าเป็นงานเมนไฟฟ้ากำลังที่เป็นงานนอกอาคาร
เช่น ปีนเสาไฟฟ้า
ติดตั้งสายไฟนั้นเป็นงานเมนของช่างไฟฟ้ากำลัง
งานระบบไฟแรงดันสูงแรงดันต่ำตามถนนต่างๆก็เป็นงานเมนของช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิเล็กทรอนิกส์เน้นเรียนและสามารถต่อยอดไปทาง Smart Home , Smart Farming เกษตรอัจฉริยะ , อุปกรณ์ IOT ต่างๆ
Rasperi Adrino เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรใหม่ๆ โดรนเพื่อการเกษตร เป็นต้น จะต่อยอดไปทางซ่อมโทรศัพท์ อุปกรณ์ IT ต่างๆก็ต่อยอดได้ดีเช่นกัน
ระบบ AI
ซ่อมและดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ สาขาอิเล็กรอนิกส์ต่อยอดไปซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์เทคโนโลยีได้ดี งานช่างไฟฟ้ากำลังส่วนมากเป็นงานโปรเจครับเหมาทำเล่นไม่ค่อยได้ ส่วนงานอิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาทำเป็นงาน
DIY ต่างๆได้ เนื่องจากโรงงานอิเล็กทรอนิกส์และจำนวนบริษัทที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมและการสื่อสารในไทยค่อนข้างมีจำนวนจำกัดส่งผลให้งานของช่างอิเล็กทรอนิส์มีจำนวนจำกัดไปด้วย ถ้าคนเรียนสาขาอิเล็กทรอนิกส์และอยากหางานง่ายให้เรียนเน้นหรือไปหาเรียนเสริมพวกวิชา ไฟฟ้าคอนโทรล PLC เซนเซอร์ ซึ่งวิชาเหล่านี้โรงงานต้องการช่างที่มีทักษะด้านนี้เยอะเวลาทำงานที่หน้างานจริงๆเขาให้ดูแลเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติต่างๆมันจะมีงานปนกันทั้งงานส่วนที่เป็นงานไฟฟ้าคอนโครล
และงานส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ช่างก็ต้องทำงานให้เป็นทั้งหมด ถึงแม้โรงงานจะรับช่างเมนอิเล็กทรอนิกส์และเมนไฟฟ้ากำลังมาด้วยก็จริง ถ้าเราทำงานได้หมดโอกาสหางานง่ายก็สูงขึ้นมาก อีกทั้งเรียนจบแล้วไม่ต้องกังวลเรื่องหางานเลยเพราะเรามีทักษะช่างที่โรงงานต้องการอยู่แล้ว จึงแนะนำคนเรียนสาขาอิเล็กทรอนิกส์ถ้าเรียนเน้นหรือไปหาเรียนเสริมวิชาไฟฟ้าคอนโทรล PLC เซนเซอร์แบบต่างๆ ก็จะหางานทำตามโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่ายเนื่องจากตำเหน่งงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าคอนโทรล PLC เซนเซอร์ มีตำเหน่งงานรองรับเยอะกว่างานวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาก ให้ดูรูปในตารางประกอบสาขาไฟฟ้ากำลังจะเน้นวิชาเมนของไฟฟ้ากำลัง สาขาอิเล็กทรอนิกส์จะเน้นเรียนวิชาเมนของอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนช่องตรงกลางสามารถเรียนได้ทั้งสาขาไฟฟ้ากำลังหรืออิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากเป็นวิชาต่อยอดจากวิชาพื้นฐาน นอกจากนี้ยังมีสาขาวิชาใหม่ๆที่เน้นเรียนเฉพาะด้านไปอีก
เช่น สาขาวิชาระบบวัดคุม สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์ เป็นต้น
ให้เช็คความชอบความถนัดของตัวเอง เทรนด์ของเทคโนโลยี และปริมาณตำเหน่งงานในตลาด รวมถึงงานที่อยากทำจริงๆเพื่อประกอบเป็นอาชีพในอนาคตด้วยมาเป็นเกณฑ์ในการเลือกสาขาที่จะเรียน
ตอบคำถามการเรียนช่าง : เรียนช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยากไหม ?
คำตอบคือไม่ยากเกินไปและก็ไม่ง่าย คิดว่าคนส่วนมากสามารถเรียนได้และก็สามารถเช็คตัวเองตอนนี้ได้เลยว่าชอบและเหมาะที่จะเรียนช่างไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ไหม ? การเรียนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับ ปวช ปวส ป.ตรีหรือวิศวะ ต้องมีการนวณหาค่ากระแส แรงดัน ความต้านทาน แก้สมการต่างๆ เพื่อหาค่าของอุปกรณ์ต่างๆที่จะต้องใช้ในวงจร ให้เช็คตัวเองว่าวิชาคณิต ฟิสิกส์และภาษาอังกฤษเรียนได้ดีระดับหนึ่งไหม ? การเรียนช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นั้นคณิตศาสตร์ต้องดีระดับหนึ่ง วิทยาศาสตร์ต้องดีระดับหนึ่งโดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์เพราะเป็นพื้นฐานของช่างหรือวิศวะทุกสาขา ภาษาอังกฤษต้องใช้ในการอ่านตำราภาษาอังกฤษด้วยเพราะสาขาเทคโนโลยีต่างๆจะอ่านเพียงตำราภาษาไทยนั้นมันไม่เพียงพอ ตอนทำงานต้องอ่านคู่มือการทำงานของเครื่องซึ่งเป็นภาษาอังกฤษและอ่านสเปคของอุปกรณ์ต่างๆก็เป็นภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน หลายครั้งการทำงานจริงๆต้องติดต่อกับต่างประเทศ ถ้าได้ทำงานกับบริษัทต่างชาติภาษาอังกฤษก็ยิ่งจำเป็นและสำคัญมากขึ้นไปอีก
น้องๆที่เรียนระดับมัธยมปลายมีการเรียนวิชาฟิสิกส์ก็จะมีบทที่เป็นเรื่องไฟฟ้าอยู่หลายบทเรียนตรงนั้นให้แน่นและเรียนให้เข้าใจเพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก สำหรับน้องๆที่เรียน
ม.ต้น ก็ให้เน้นคณิตและวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจเพราะนอกจากจะใช้เรียนต่อ
ม.ปลายแล้วถ้าเรามีพืนฐานดีตั้งแต่ตอน ม.ต้นนี้
อนาคตเราก็จะเรียนได้ดีเพราะจากการสังเกตหลายๆวิชาที่เรียน
มันจะเป็นวิชาต่อเนื่องกันถ้าเรียนวิชาพื้นฐานให้เข้าใจดีตั้งแต่เทอมแรกปีแรก
การเรียนวิชาต่อเนื่องก็จะง่ายไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเราเรียนเข้าใจเรื่องตรีโกณมิติดีก็จะทำให้เราเรียนวิชาไฟฟ้ากระแสสลับเข้าใจง่ายไปด้วยเนื่องจากในวิชาไฟฟ้ากระแสสลับจะมีเรื่องมุมเฟสทางไฟฟ้าและนำเรื่องมุมต่างๆนี้ไปแก้สมการทางไฟฟ้ากระแสสลับเยอะมาก ถ้าเราเรียนเข้าใจเรื่องการแก้สมการในวิชาคณิตจะทำให้เราเรียนวิชาไฟฟ้ากระแสตรงหาค่าตัวแปรทางไฟฟ้าต่างๆ
เช่น V
I R เมื่อเรียนเข้าใจก็จะรู้สึกสนุกกับมันในการเรียนรู้บทต่อๆไป สำหรับการเรียนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในระดับ ป.ตรีนั้นจะมีวิชาคณิตศาสตร์ขั้นสูง การแก้สมการทางไฟฟ้าและวิเคราะห์วงจรไฟฟ้านั้นก็จะใช้คณิตศาสตร์ขั้นสูง แต่ไม่ต้องกังวลเพราะถ้าวิชาพื้นฐานเราดีระดับหนึ่งบวกกับตอนเรียนเราก็ตั้งใจเรียนมันจะช่วยเสริมกันให้เรียนได้ดีแน่นอน
เลือกเรื่องถัดไปที่น่าสนใจ อ่านต่อ
เช่น การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มี 17 ตอน
อาการเสียวงจรหลอดไฟให้แสงสว่างตามบ้าน แนวทางแก้ หลอดไฟติดๆ ดับๆ หลอดไฟกระพริบ หลอดไฟไม่ติด หลอดไฟไม่สว่าง บัลลาสต์มีเสียงคราง
หลอดไฟที่นิยมใช้ตามบ้านคือหลอดฟลูออเรสเซนต์เนื่องจากประหยัดไฟและราคาไม่แพงมาก ขณะเดียวกันให้ประสิทธิภาพแสงสว่างที่ดี วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ประกอบด้วยส่วนหลักๆคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ สตาร์ทเตอร์ และ บัลลาสต์ เวลาวงจรหลอดไฟเสียเราก็ต้องมาเช็คส่วนประกอบที่สำคัญเหล่านี้ อาการเสียของวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์คือ หลอดไฟติดๆ ดับๆ หรือ หลอดไฟกระพริบ หลอดไฟไม่ติด หลอดไฟไม่สว่าง หลอดสว่างแล้วดับ หลอดมีแสงสลัว บัลลาสต์มีเสียงคราง เป็นต้น ก่อนเช็คหรือซ่อมมารู้จักวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ก่อน เพื่อใช้วงจรนี้ไล่เช็คอาการเสียต่างๆเป็นลำดับขั้นตอน
ใช้ไขควงเช็คไฟวัดไฟที่ขั้วต่อบัลลาสต์ว่ามีไฟมาหรือยัง ?
สอนใช้งาน Multi-function Tester เครื่องวัด LCR TC1 วัด R L C ไดโอด ซีเนอร์ ทรานซิสเตอร์ SCR มอสเฟต ไตรแอค และอื่นๆ
Electronic Components Tester
แนะนำการใช้งาน Multi-function Tester เครื่องนี้สามารถวัดอุปกรณ์ได้หลายอย่างมากสมกับคำว่า Multi-Function Tester จุดเด่นที่สำคัญคือใช้งานง่าย.....แต่ก่อนใช้งานต้องรู้วิธีการวัดก่อนรวมถึงรู้ความสามารถและข้อจำกัดของเครื่องวัดนี้ อ่านให้ครบทุกข้อ 1-5 จนจบเพื่อจะได้ข้อมูลครบถ้วนและไม่พลาดข้อมูลที่สำคัญแล้วจะเข้าใจการใช้งานมากยิ่งขึ้น เครื่องนี้สามารถวัดอุปกรณ์พื้นฐานในแผงวงจรครอบคลุมอุปกรณ์ส่วนมากที่นิยมใช้งาน เช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ ไดโอด ซีเนอร์ไดโอด LED เอสซีอาร์ ไตรแอค ไอจีบีที มอสเฟต เป็นต้น เป็นเครื่องวัดที่ช่างควรมีไว้ประจำโต๊ะซ่อมนอกจากมัลติมิเตอร์แบบเข็มและมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องทราบมี 5 ข้อดังนี้
1. Socket และ การเสียบขาอุปกรณ์
2. การตีความหมายผลการวัด ดี / เสีย
3. ข้อจำกัดในการวัดอุปกรณ์ของเครื่อง Multi-function Tester
4. ขอบเขตที่ควรใช้งาน
5. การคาลิเบรต หรือ การทดสอบเครื่อง ( Self Test )
แบบใช้แบต 9V สามารถหาปากคีบลักษณะคล้ายตามรูปนี้มาทำสายวัด
1. Socket และ การเสียบขาอุปกรณ์ แบบใช้ถ่าน 9V กับแบบชาร์ตไฟได้ มีตำเหน่งช่องเสียบที่แตกต่างกันโดยแบบใช้ถ่าน 9V จะระบุตำเหน่งช่องเป็น 12311111 โดยตรงที่ชื่อตำเหน่ง 11111 จะต่อถึงกันหมด ขณะที่แบบชาร์ตไฟได้จะระบุชื่อตำเหน่งช่อง KAA1233 ช่องที่มีชื่อตำเหน่งเหมือนกันจะต่อถึงกัน
การเสียบขาอุปกรณ์
อุปกรณ์ที่มี 2 ขา------------> ให้เสียบช่อง 1 กับ 2 , 2 กับ 3 , 1 กับ 3 คู่ช่องใดก็ได้ตามที่เสียบได้สะดวก
อุปกรณ์ที่มี 3 ขา------------> ให้เสียบช่อง 123
การวัดซีเนอร์ไดโอดสำหรับรุ่น TC1 ช่อง A ให้เสียบขาแอโนด ช่อง K ให้เสียบขาคาโทดตามสเปคบอกว่ารุ่น TC1 สามารถวัดแรงดันซีเนอร์ไดโอด 0.01-30V
แถบวัดอุปกรณ์ SMD ใช้วัดอุปกรณ์ SMD ที่ไม่รู้จักว่าเป็นตัวอะไร ? วัดเพื่อให้รู้ว่าเป็นทรานซิสเตอร์ ไดโอด ตัวต้านทาน SMD คาปาซิเตอร์ SMD หรืออุปกรณ์ๆ และวัดเพื่อให้รู้ว่าดีหรือเสีย
ช่อง KAA ใช้วัดซีเนอร์ไดโอด ช่อง A ให้เสียบขาแอโนด ช่อง K ให้เสียบขาคาโทด
2. การตีความหมายผลการวัด ดี/เสีย หลักการก็คือต้องรู้จักชื่ออุปกรณ์ และสเปคที่สำคัญของมัน ถ้าอุปกรณ์ปกติหน้าจอจะแสดงชื่ออุปกรณ์พร้อมสเปคที่สำคัญ หรือบางกรณีบอกกลุ่มของอุปกรณ์แทนเช่นวัดซีเนอร์ไดโอด วัด LED เครื่องวัดจะบอกว่าเป็นไดโอด ให้อ่านข้อ 3เพิ่มเรื่อง ข้อจำกัดในการวัดอุปกรณ์ของเครื่อง Multi-Function Tester ตัวอย่างเบอร์อุปกรณ์สามารถบอกชนิดอุปกรณ์ได้
2SAXXX เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด PNP ใช้งานย่านความถี่สูง
2SBXXX เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด PNP ใช้งานย่านความถี่ต่ำ
2SCXXX เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN ใช้งานย่านความถี่สูง
2SDXXX เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN ใช้งานย่านความถี่ต่ำ
2SJXXX เป็น FET P แชนแนล
2SKXXX เป็น FET N แชนแนล
2NXXX เป็นทรานซิสเตอร์
IRFXXX เป็นมอสเฟต
MJEXXX เป็นทรานซิสเตอร์จานบิน ( TO-3 )
BTAXXX เป็นไตรแอค
TMGXXX เป็นไตรแอค
2.1 วัดตัวต้านทาน ถ้าตัวต้านทานดีจะแสดงชื่อเป็น Resistor พร้อมค่าความต้านทาน
วัด VR ลองหมุนถ้าค่าเปลี่ยนตามการหมุนคือดี เอา 2 ค่ารวมกัน = 2K Ohm
2.2 วัดตัวเก็บประจุ ถ้าตัวเก็บประจุดีหน้าจอจะแสดงชื่อุปกรณ์เป็น Capacitor พร้อมค่าความจุ ให้คายประจุหรือดิสชาร์จก่อนวัดตัวเก็บประจุทุกครั้ง
ตัวเก็บประจุค่า 22UF พิมพ์ไว้ที่ตัวสินค้าวัดได้ 21.57UF ถือว่า C สภาพดี เพราะได้ค่าใกล้เคียง2.3 วัดไดโอด ซีเนอร์ไดโอด LED ถ้าอุปกรณ์สภาพดีหน้าจอจะแสดงชื่อเป็นไดโอดเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ในกลุ่มเดียวกัน พร้อมแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด ( Vf) เครื่องวัดรุ่นใช้แบต 9V จะแสดง ซีเนอร์ไดโอดเป็นไดโอดแทน ส่วนเครื่องวัดรุ่น TC1 แบบชาร์ตไฟได้จะมีช่องวัดซีเนอร์ไดโอดโดยเฉพาะคือช่อง KAA ให้เสียบขาอาโนดที่ช่อง A และคาโทดที่ช่อง K
รุ่นนี้มีช่องสำหรับวัดซีเนอร์ไดโอดโดยเฉพาะ ให้เสียบอาโนดที่ช่อง A ขาคาโทดที่ช่อง K
รุ่นราคาถูกแบบใช้ถ่าน 9V เมื่อวัดซีเนอร์ไดโอด จะแสดงผลเป็นไดโอดแทน
2.4 วัดวาริสเตอร์ ถ้าวาริสเตอร์สภาพดีจะแสดงเป็นคาปาซิเตอร์แทน เนื่องจากวาริสเตอร์ปกติ 2 ขาจะไม่ต่อถึงกันวัดด้วยโอห์มมิเตอร์เข็มก็ไม่ขึ้นสักครั้ง ให้สังเกตสภาพของวาริสเตอร์ด้วยว่าอยู่ในสภาพดีไม่มีรอยไหม้
วัดวาริสเตอร์ Varistor ถ้าวาริสเตอร์สภาพดีจะแสดงเป็นคาปาซิเตอร์แทน
2.5 วัดทรานซิสเตอร์ ให้เสียบช่อง 123 ถ้าอุปกรณ์สภาพดีจะแสดงชื่อเป็น Transistor พร้อมระบุชนิดว่าเป็นชนิด NPN หรือ PNP และบอกอัตราขยายของทรานซิสเตอร์ (hFE) ด้วย ถ้าทรานซิสเตอร์สภาพดีไม่ซ๊อตไม่ขาดต้องมีอัตราขยาย ปกติอัตราขยายของทรานซิสเตอร์จะมีปริมาณ หลายเท่า - หลายร้อยเท่า
วัดทรานซิสเตอร์จานบิน ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะมีอัตราขยาย ( hFE )
2.6 วัดมอสเฟตให้เสียบช่อง 123 ถ้าอุปกรณ์สภาพดีจะแสดงชนิดมอสเฟตว่าเป็นชนิด P แชนแนลหรือ N แชนแนลพร้อมแสดงแรงดันทริกขา G ( Vt)
MOSFT Test2.7 วัดอุปกรณ์กลุ่มไทริสเตอร์ เช่น SCR ไตรแอค ให้เสียบช่อง 123 ถ้าอุปกรณ์สภาพดีจะแสดงหน้าจอตามรูปด้านล่าง
วัดไตรแอค หน้าจอจะแสดงเป็น Triac พร้อมสัญลักษณ์ของไตรแอค
3. ข้อจำกัดในการวัดอุปกรณ์ เครื่องวัดนี้เหมาะสำหรับการวัดอุปกรณ์ขนาดเล็ก ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวัดอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เนื่องจากกระแสที่จ่ายออกจากเครื่องวัดเพื่อทดสอบอุปกรณ์มีปริมาณน้อยเวลาวัดอุปกรณ์พวกไทริสเตอร์บางเบอร์ ( ตัวใหญ่) เช่น SCR ไตรแอค กระแสทริกมีปริมาณไม่พอที่จะทริกให้มันทำงาน เครื่องวัดจะไม่รู้จักอุปกรณ์เบอร์นั้น ๆ ( Triac Range: IGT < 6mA ) ไตรแอคบางเบอร์เครื่องวัดจะมองเป็นตัวต้านทานแทน ทรานซิสเตอร์บางเบอร์เครื่องวัดจะมองเป็นไดโอดแทน ไอจีบีทีบางเบอร์เครื่องวัดจะมองเห็นเป็นคาปาซิเตอร์แทน สำหรับอุปกรณ์ตัวใหญ่มักจะเสียในลักษณะขาด และซ๊อต ให้ใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มย่านวัด Rx1 หรือ Rx10 วัดยืนยันการขาดและการซ๊อตอีกครั้ง ประเด็นสำคัญที่เครื่องวัด Multi-function Tester ยังแสดงว่าเป็นไดโอด ตัวต้านทาน หรือ คาปาซิเตอร์ก็บอกทางอ้อมได้ว่าอุปกรณ์ที่วัดไม่ได้ขาดหรือซ๊อต
วัดไตรแอคเครื่องวัดมองเป็นตัวต้านทานแทน ตาม Datasheet ขาเรียง A1 A2 G ตัวที่วัดเป็นตัวอย่างนี้สภาพดีอยู่ ปกติแล้วไตรแอคถ้าใช้มัลติเตอร์แบบเข็มวัด เข็มจะวัดขึ้น 2 ครั้งคือขา G กับขา A1 และขา G กับขา A2
วัดไตรแอคเครื่องทำน้ำอุ่นด้วยเครื่องวัดรุ่นราคาถูกนี้ไม่สามารถแสดงว่าความต้านทานสูงๆระดับ 45Mega Ohm ได้จึงแสดงได้เฉพาะความต้านทานระหว่างขา G กับขา A1 ( ขา 1 กับขา 2 ) ไตรแอคที่วัดสาธิตเป็นตัวใหม่และสภาพดีอยู่ จะเห็นว่าเครื่องวัดรุ่น TC1 แบบชาร์ตไฟได้ มีความสามารถมากกว่า
4. ขอบเขตที่ควรใช้งาน เครื่องวัด Multi-function Tester มีผลการวัดถูกต้องระดับหนึ่งเหมาะสำหรับใช้กับงานซ่อมทั่วไป งาน DIY และ งานทดลองในการศึกษาเรียนรู้ สำหรับงานที่เน้นผลการวัดถูกต้องสูงเช่นงานอุตสาหกรรม งานวิจัยระดับห้องแลปให้ใช้เครื่องมือวัดที่มีค่าการวัดถูกต้องและเที่ยงตรงสูงจากยี่ห้อชั้นนำ สำคัญมากก่อนวัดคาปาซิเตอร์ต้องคายประจุหรือดิสชาร์ตก่อนทุกครั้ง ถ้าไม่คายประจุทำให้เครื่องเสียหายและผลการวัดเพื้ยนได้
สเปคและขอบเขตการวัดของเครื่อง Multi-function Tester TC1 แบบชาร์ตไฟได้
5. การคาลิเบรต หรือการทดสอบเครื่องวัด เมื่อใช้ไปสักระยะเครื่องวัดเพื้ยน ให้คาลิเบรต หรือ ตามคู่มือบอกว่าให้ทำ Self Test เป็นปกติของเครื่องมือวัดทุกชนิดที่ต้องทดสอบตามระยะเวลาที่กำหนดว่าให้ผลการวัดถูกต้องและเทียงตรงอยู่หรือไม่ เสียบโลหะซ๊อตขาช่อง 123 แล้วกดปุ่ม
เมื่อทำ Self Test เสร็จหน้าจอจะแสดงแบบนี้
จบ การใช้งานเครื่องวัด LCR TC1 ( รวมถึงเครื่องที่คล้ายกัน วิธีใช้งาน LCR-T4 ESR )
30 เรื่อง การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ( เป็น ภาษาอังกฤษ) > อ่านที่เว็บนี้
อ่านต่อ อีก 25 เรื่อง เลื่อนหน้า > ด้านล่างสุดของมือถือ หรือเลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง